*** ธรรมเนียมเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ***




ชาวล้านนาเรียกการรับประทานอาหารโดยทั่วไปว่า "กินเข้า" คือ กินข้าว ซึ่งการรับประทานอาหารของชาวล้านนานั้น
มีแบบแผนโดยทั่วไปดังนี้ อาหารที่รับประทานเป็นหลักคือ เข้าหนึ้ง หรือข้าวนึ่ง และกับข้าวซึ่งเรียกกันว่า ของกิน (อ่าน “ของกิ๋น”)
ของไขว่ หรือ คำกิน (อ่าน “กำกิ๋น”) อีก ๑-๒ อย่างซึ่งมีการปรุงหลายรูปแบบด้วยกัน อาทิ แกง น้ำพริก ยำ ตำ ส้า ลาบ
ขั้ว ปิ้ง ต้ม หนึ้ง เป็นต้น ทั้งนี้ อาหารที่นิยมทำรับประทานในชีวิตประจำวันมักได้แก่ อาหารประเภทแกง และน้ำพริก
เวลาที่รับประทาน/มื้ออาหาร ชาวล้านนารับประทาน ๓ มื้อ เช่นเดียวกับที่อื่น ๆ คือ มื้อเช้าเรียกว่า "เข้างาย"
มื้อกลางวันเรียกว่า เข้าทอน (อ่าน”เข้าตอน”) และมื้อเย็นเรียกว่า "เข้าแลง"สถานที่ที่รับประทานอาหารตั้งแต่โบราณมา
ในบ้านที่มีชานเรือน จะนั่งล้อมวงรับประทานอาหารกันที่ชานเรือนนี้ แต่เมื่อมีแขกมาบ้านจะยกมานั่งรับประทานกันที่เติน (อ่าน “เติ๋น”)
สมัยปัจจุบันบางครัวเรือนอาจทำห้องรับประทานอาหารไว้ต่างหาก และอาจรับประทานอาหารกับโต๊ะ


วิธีการนั่งรับประทานอาหาร นั้นก็มีหลายลักษณะ ได้แก่

  • นั่งขดถวาย คือ การนั่งขัดสมาธิ ถือเป็นการนั่งแบบสุภาพสำหรับผู้ชาย แต่สำหรับผู้หญิงแล้วการนั่งขดถวายถือว่าไม่สุภาพเรียบร้อย

  • นั่งหม้อแหม้ หรือ ป้อหละแหม้ คือ การนั่งพับเพียบ ถือเป็นท่านั่งที่สุภาพสำหรับผู้หญิง ซึ่งผู้ชายจะนั่งท่านี้ ก็ต่อเมื่อทำพิธีทางศาสนาหรือเข้าเฝ้าเจ้านายเท่านั้น

  • นั่งหย่องเขาะ หย่องเหยาะหรือ ข่องเหยาะ คือ การนั่งยอง ๆ ลักษณะนี้พวกผู้ชายหรือเด็ก ในวัยเดียวกันนิยมนั่งรับประทานอาหารกัน หรือใช้นั่งในสถานที่ที่พื้นไม่สะอาดหรือราบเรียบ

  • นั่งปกหัวเข่า คือการนั่งชันเข่า มักพบในผู้สูงอายุ อาจเพราะเป็นท่าที่สบาย ไม่เมื่อยขบเท่าการนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ

  • นั่งเหยียดแข้ง พบในคนแก่ที่มีอาการปวดเมื่อยได้ง่าย ซึ่งส่วนมากจะไม่นิยมกันหากไม่มีความจำเป็นจริง ๆ เพราะถือว่าไม่สุภาพ


วิธีการปั้นข้าวนึ่ง วิธีหนึ่ง เป็นวิธีง่าย ๆ และทำให้ข้าวนึ่งแน่นพอ ดังนี้ ได้แก่

  1. หยิบข้าวนึ่งมาพอคำ











  2. ใช้นิ้วหัวแม่มือคลึงข้าวนึ่งไปมาบนนิ้วชี้และนิ้วกลาง ให้กลมและแน่น











  3. นำข้าวนึ่งจิ้มลงไปในอาหาร ดังรูป












ก่อนหน้า         หน้าถัดไป         กลับหน้าหลัก





จัดทำโดย : นางสาวปนัดดา อินต๊ะนนท์

รหัสประจำตัวนักศึกษา : 500210012

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

E-mail: ha_ru_jangza@hotmail.com