*** ขันโตก ***




"ขันโตก" มี ๓ ชนิด


๑.ขันโตกหลวงหรือสะโตกหลวง ทำด้วยไม้ขนาดใหญ่ตัดท่อน มา กลึง
หรือเคี่ยนเป็นขันโตก มีความกว้างตั้งแต่ ๒๕ นิ้ว ถึง ๔๐ นิ้ว
ตามขนาดของไม้ที่หามาได้นิยมใช้กันในราชสำนัก ในคุ้ม ในวัง
ของเจ้านายฝ่ายเหนือทั่วไป รวมทั้งใช้ในวัดวาอารามทั่วไป
ขันโตกหลวงจะใส่อาหารสำหรับเจ้านาย เพื่อให้เสวยกันเป็นส่วนพระองค์ก็มี
เช่น พ่อเจ้า แม่เจ้า ผู้ครองนคร ก็จะเสวยกัน ๒ พระองค์ เป็นต้น
ส่วนวัดนั้น ถือว่าพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่การเคารพนบนอบ
ยกไว้เป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย ดังนั้นศรัทธาประชาชนจึงนิยมเอาขันโตก
หรือสะโตกไปถวายไว้ที่วัดด้วย ถือว่าวัดเป็นเนื้อนาบุญที่มีของดีมีค่ามาก เมื่อนำไปถวายจึงถือว่าได้บุญกุศลส่วนหนึ่ง3

๒.ขันโตกฮามหรือสะโตกทะราม ได้แก่ ขันโตกขนาดกลางประมาณ ๑๗-๒๕ นิ้ว (คำว่าฮามหรือทะรามนี้
เป็นคำไทยโบราณปรากฎอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่กล่าวถึงพระพุทธรูปใหญ่ ว่าพระพุทธรูปฮาม หรือทะรามคือขนาดกลาง)
ใช้ไม้ขนาดกลางมาตัด และเคี่ยนหรือกลึงเหมือนขันโตกหลวง ลงรักทาหาง หรือชาดอย่างเดียวกัน
ผู้ที่จะใช้คือครอบครัวใหญ่ๆ เช่น คหบดี เศรษฐีผู้มีอันจะกิน ก็ใช้ขันโตกแบบนี้

๓.ขันโตกหน้อย นิยมใช้ไม้สักขนาด๑๐-๑๕ นิ้วมาทำการกลึงหรือเคี่ยน
แล้วฉาบทาด้วยรักหรือชาดอย่างเดียวกันกับขันโตกหลวง
และขันโตกฮาม แต่ใช้สำหรับครอบรัวเล็กๆ เช่น หญิง และชายที่แต่งงานใหม่ๆ
หรือผู้ที่รับประทานคนเดียว อาหารที่ใส่ก็เป็นจำนวนน้อย
จึงนิยมใช้ขันโตกหน้อยในภาคเหนือจึงมีขันโตกเป็นจำนวนมาก
โดยมากจะเป็นขันโตกหน้อยเพราะหาง่ายและราคาไม่แพงจนเกินไป











กลับหน้าภาชนะใส่อาหาร      หน้าถัดไป      กลับหน้าหลัก




จัดทำโดย : นางสาวปนัดดา อินต๊ะนนท์

รหัสประจำตัวนักศึกษา : 500210012

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

E-mail: ha_ru_jangza@hotmail.com