หน่วยที่ 3
การจัดองค์ประกอบของการออกแบบลวดลาย

 การจัดองค์ประกอบของการออกแบบลวดลาย

            การจัดองค์ประกอบของลวดลาย เป็นการนำลวดลายที่ผ่านการกลั่นกรองแล้ว มาจัดวางให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงความแตกต่างของลักษณะงานแต่ละประเภทประกอบด้วย เช่น ออกแบบลวดลายผ้า ออกแบบลวดลายกราฟิก ออกแบบลวดลายจิตรกรรมหรือ ประติมากรรม เป็นต้นการจัดวางลวดลายนี้จะนิยมเรียกกันว่า การผูกลาย

การจัดวางลวดลายหรือการผูกลายมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการนำลวดลายมาผสมผสานกันให้ลงตัวกลมกลืน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีการ ดังนี้

1. การจัดวางลวดลายโดยการกระจายออกจากศูนย์กลาง   

              การผูกลายให้ประสานสัมพันธ์กันโดยยึดศูนย์กลางเป็นหลัก สามารถทำได้ในลวดลายหลายชนิดทั้งลายไทย ลายจากธรรมชาติและลวดลายอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถทำได้บนพื้นที่หลายๆลักษณะไม่ว่าจะเป็นวงกลม เช่น จาน ชาม ตลับ หรือพื้นที่สามเหลี่ยม เช่น หน้าบันของโบสถ์ วิหาร หรือพื้นที่ลักษณะอื่นๆ เช่น ตู้  กล่อง  บรรจุภัณฑ์ ต่างๆ เป็นต้น

 44.JPG

2. การจัดวางลวดลายจากด้านใดด้านหนึ่งของพื้นที่

              การผูกลายโดยการยึดด้านใดด้านหนึ่งของพื้นที่เป็นหลักนี้ลวดลายจะถูกกำหนดให้อยู่ในกรอบตามลักษณะของพื้นที่ เช่น เสา บานประตู หน้าต่าง ผนัง เป็นต้น

45.JPG 46.JPG

47.JPG 48.JPG

3.    การจัดวางลวดลายโดยการใช้ลวดลายซ้ำๆ

       การผูกลายโดยการใช้ลวดลายซ้ำๆ กันนี้ สามารถทำได้หลายวิธีการ ดังนี้

         3.1 โดยการกำหนดทิศทาง   ลวดลายจะถูกจัดวางให้อยู่ในทิศทางที่กำหนด   ทั้งแนวตั้ง   แนวนอนและ แนวเฉียง โดยการจัดวางลวดลายให้ซ้ำๆ กันไปตลอดพื้นที่

20.JPG 22.JPG

   3.2  การกำหนดจังหวะ  ลวดลายจะถูกจัดวางให้เป็นจังหวะที่ต่อเนื่องกัน   โดยการใช้ลวดลายอื่นช่วยประสาน หรืออาจจะใช้สัดส่วนของลวดลายที่ต่างขนาดกัน หรือเลือกใช้สีเป็นตัว

กำหนดจังหวะ

49.JPG 50.JPG

 

สรุป

การออกแบบลวดลายมีกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน          อย่างมีระบบผ่านการคิดกลั่นกรอง เพื่อให้ลวดลายสอดคล้อง และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่งในบางครั้งอาจจะให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพิจารณา ถ้าลวดลายนั้นมีผลกระทบต่อความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม โดยลวดลายที่สมบูรณ์ แล้วนั้นจะเกิดจากการทำองค์ประกอบศิลปะหลายชนิดมาเชื่อมโยงกัน ผสมผสานเข้าด้วยกันและนำมาจัดวางหรือผูกลายให้สวยงาม กลมกลืน ไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในลวดลาย ดังนั้นการออแบบลวดลายแต่ละชนิดจึงค่อนข้างจะซับซ้อนมีระเบียบแบบแผน         การจะออกแบบลวดลายให้ประสบผลสำเร็จจึงต้องศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจในปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วย

ทบทวนบทเรียน

  

  

แบบฝึกหัด

(คะแนนเต็ม 20 คะแนน)

  1. นักศึกษาทำแบบฝึกหัดต่อไปนี้ให้ครบทุกข้อ ให้ได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 80%
  2. เมื่อทำเสร็จแต่ละข้อให้คลิกปุ่ม Check Answer เพื่อยืนยันการตอบ และดูคะแนน
  3. หลังจากทำเสร็จทุกข้อ ให้นักศึกษาเลื่อนไปท้ายบทเรียนหน้านี้ เลือก Print Score Summary
    เพื่อดูผลคะแนนและพิมพ์คะแนนส่งอาจารย์

1. จงเลือกคำตอบ ใช่ หรือ ไม่ใช่ ให้ถูกต้อง

 Toggle open/close quiz question

 

 

40.JPG

 Toggle open/close quiz question

 

 

Toggle open/close quiz question

 

 

48.JPG

 Toggle open/close quiz question

 

 

58.JPG

 Toggle open/close quiz question

 

 

2. จงเรียงลำดับขั้นตอนการออกแบบ ต่อไปนี้