หน่วยที่ 1
การออกแบบ

ประวัติความเป็นมาของการออกแบบลวดลาย

           การออกแบบลวดลายมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน พร้อมๆกับวิวัฒนาการของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การต่อสู้แก่งแย่งช่วงชิงพื้นที่ในการดำรชีวิต การล่าสัตว์เพื่อหาอาหารประทังชีพ ตลอดจนความหวาดกลัวในสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ ทำให้เกิดการค้นหาสิ่งยึดเหนี่ยวที่จะสร้างขวัญและกำลังใจให้เข้มแข็ง พร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ จึงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะต่างๆขึ้นมา

paste_image7.jpg

          ก่อนที่มนุษย์จะมีพัฒนาการจนสามารถสร้างผลงานศิลปะได้หลากหลายขึ้นนั้น เชื่อกันว่าการสร้างลวดลายบนร่างกาย ใบหน้าของมนุษย์นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบลวดลายก่อนที่จะนำไปใช้พื้นผิวของวัสดุอื่นภายหลัง เพราะความต้องการในการกระตุ้นจิตใจให้ฮึกเหิมสร้างความน่ากลัวและน่าเกรงขาม เป็นยุทธวิธีหนึ่งที่จะลดทอนขวัญกำลังใจของคู่ต่อสู่  ในปัจจุบันก็ยังมีชนเผ่าพื้นเมืองบางกลุ่มในเอเชีย อาฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกา และอินเดีย ออกแบบลวดลายบนร่างกายเพื่อใช้ในพิธีกรรมตามความเชื่ออยู่ หลังจากนั้นจึงเกิดการขูดขีดเส้นสายต่างๆลงบนอาวุธและเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ จนเกิดการออกแบบลวดลายเขียนสีบนผนังถ้ำและเพิงผา จากการขุดค้นพบผลงานต่างๆ ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ทั่วโลก บ่งบอกให้รู้ถึงความสามารถในการคิดค้น สร้างสรรค์ผลงานศิลปะต่างๆ ขึ้นมาปลุกปลอบจิตใจ การขีดเขียนสีหรือการทำลวดลายบนพื้นหินจะถูกเรียกโดยรวมว่า ศิลปะถ้ำ (Cave art) หรือ ศิลปะบนหิน (Rock art)

          ศิลปะถ้ำ เริ่มมีการศึกษากันอย่างจิงจัง เมื่อมีการค้นพบภาพเขียนสีรูปวัวไบซัน (Bison) โดยนักโบราณคดีสมัครเล่น ที่ถ้ำอัลตามิรา ในประเทศสเปนราว
พ.ศ. 2422 ซึ่งเป็นภาพเขียนสีในยุคหินเก่าตอนปลาย อายุประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว จากนั้นมาการค้นหาภาพสีของมนุษย์โบราณจึงได้แพร่กระจายทั่วโลก ราว 30 ปี  ต่อมาใน พ.ศ. 2454 จึงมีการค้นพบภาพเขียนสีเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่แหล่งภาพเขียนสีเขาเขียน ในอ่าวพังงา แต่ที่มักจะได้รับการกล่าวถึงกันมาก เพราะเป็นแหล่งเขียนสีที่ใหญ่ที่สุด มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศไทย คือ ที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2524 และเป็นศิลปะถ้ำแห่งแรกในประเทศที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการในราชกิจจานุเบกษา  

           ในภาคเหนือได้มีการค้นพบภาพเขียนสีในหลายจังหวัด   เช่น  พิษณุโลก  เชียงใหม่  ลำปาง โดยเฉพาะที่จังหวัดลำปางมีการพบภาพเขียนสีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 แต่ได้รับการสำรวจอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2541   จากการสำรวจครั้งนี้ทำให้พบว่า       ภาพเขียนสีที่แหล่งโบราณคดีประตูผา อำเภอแม่เมาะ   จังหวัดลำปาง   มีภาพลวดลายต่างมากกว่า   1,872   ภาพ    ซึ่งส่วนมากจะเป็นภาพมือที่ใช้หลากหลายวิธีในการสร้างภาพ   ภาพสัตว์   ภาพคน   และ ภาพสัญลักษณ์    แต่ที่แตกต่างจากแหล่งภาพเขียนสีอื่นๆที่ค้นพบในประเทศไทยก็คือ   ทุกพื้นที่ที่มีภาพเขียนสีบริเวณเชิงผา พื้นดินส่วนล่างจะพบหลุมฝังศพทุกแห่ง ในหลุมศพจะมีโครงกระดูก เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

   paste_image12.jpgpaste_image13.jpg

 

เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป  มนุษย์มีวิวัฒนาการสูงขึ้น  การออกแบบลวดลายต่างๆของมนุษย์ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย      ในบางยุคมีความเจริญรุ่งเรือง      ในบางยุคก็ตกต่ำ     แต่ในวงการประวัติศาสตร์ศิลป์ได้ยกย่องให้อียิปต์    กรีก     และโรมันเป็นยุคที่มนุษย์มีพัฒนาการทางศิลปะถึงจุดสูงสุด  เป็นต้นแบบให้กับศิลปะในยุคต่อมาจนถึงปัจจุบัน

 

ลักษณะลวดลายของภาพเขียนสี ยุคก่อนประวัติศาสตร์

          ภาพเขียนสีที่พบในศิลปะถ้ำนั้น  ปรากฏลวดลายที่แตกต่างกันไปตามแหล่งค้นพบ บางลวดลายจะมีความคมชัด สื่อความหมายง่ายๆสามารถบอกได้ว่าเป็นภาพอะไร  แต่บางภาพต้องทำการศึกษาวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งโดยดูจากองค์ประกอบอื่นๆด้วย  ลวดลายที่พบเหล่านี้แบ่งออกได้ 2 ลักษณะคือ

  1. ลวดลายเหมือนจริง เป็นลวดลายที่พบเห็นมากที่สุด เช่น คน  สัตว์  มือ  เครื่องมือ  เครื่องใช้  เรือ  และพืชพันธ์ต่างๆ
  2. ลวดลายสัญลักษณ์ เป็นลวดลายที่ผู้สร้างงานต้องการสื่อความหมายหรือบอกให้รู้ถึงบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งไม่สามารถแปลความหมายได้  ต้องทำการศึกษาค้นคว้ากันต่อไป เช่น ภาพสามเหลี่ยม  วงกลม  หรือ ภาพสี่เหลี่ยมมีเส้นทแยงมุม เป็นต้น

paste_image16.jpg paste_image17.jpg

          เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป  มนุษย์มีวิวัฒนาการสูงขึ้นการออกแบบลวดลายต่างๆของมนุษย์ก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ในบางยุคมีความเจริญรุ่งเรือง  ในบางยุคก็ตกต่ำ  แต่ในวงการประวัติศาสตร์ศิลป์ได้ยกย่องให้อียิปต์  กรีก และโรมันเป็นยุคที่มนุษย์มีพัฒนาการทางศิลปะถึงจุดสูงสุด เป็นต้นแบบให้กับศิลปะในยุคต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ความหมายของการออกแบบลวดลาย

 การออกแบบลวดลายในความหมายของภาษาไทยตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.  2542    ไม่มีการกล่าวถึงและคำว่า   การออกแบบ    หรือ    ออกแบบ  ก็ไม่มีปรากฎ  มีแต่คำว่าลวดลาย   ซึ่งหมายถึง   ลายต่างๆที่เขียนหรือแกะสลัก, ฝีมือความสามารถที่แสดงให้ปรากฏ      

ในความหมายของภาษาอังกฤษมีคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับการออกแบบลวดลายดังนี้

                Decorate.   vt.   หมายถึง   การตกแต่ง, ประดับ

                Ornament.  vt.   หมายถึง   ประดับ

                                    n.   หมายถึง   เครื่องประดับ

                design.        vt.   หมายถึง   ออกแบบ, แผนการ

                                       n.    หมายถึง   แบบ, การออกแบบ,ลวดลาย, แผนการ

          การออกแบบลวดลาย (Decorative Design) หมายถึง      การออกแบบเพื่อใช้ในการตกแต่ง ประดับพื้นที่  หรือวัสดุต่างๆให้มีความสวยงามเหมาะสม   กลมกลืนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยลวดลายเหล่านี้อาจจะมีความหมายชัดเจนหรือเป็นสัญลักษณ์

          จะเห็นได้ว่า    การออกแบบลวดลายไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาได้โดยอิสระ  ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย  เช่น  สถานที่ พื้นที่ ขนาด วัสดุ สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดให้การออกแบบลวดลายอยู่ในขอบเขตตามวัตถุประสงค์

ชนิดของการออกแบบลวดลาย

           ผลงานการออกแบบลวดลายที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมา  บ่งบอกถึงจินตนาการไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์ 
ซึ่งผลงานเหล่านี้จะมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของงาน ของวัสดุ และของกรรมวิธีในการสร้างสรรค์

การออกแบบลวดลายแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆได้ 3 ชนิด คือ

  1. การออกแบบลวดลายตกแต่งวัสดุ 2 มิติ
  2. การออกแบบลวดลายตกแต่งผลิตภัณฑ์  3 มิติ
  3. การออกแบบลวดลายสถาปัตยกรรม

1.  การออกแบบลวดลายตกแต่งวัสดุ  2  มิติ

                การออกแบบลวดลายตกแต่งวัสดุ 2 มิติ เป็นการออกแบบลวดลายลงบนวัสดุที่เป็นพื้นระนาบ  มีความกว้างกับความยาวเท่านั้น  เช่น  กระดาษ  ไม้  ผนัง  ผ้า  กระจก  ซึ่งลักษณะของลวดลายที่ออกแบบลงบนวัสดุเหล่านี้  จะแตกต่างออกไปตามวัตถุประสงค์และกรรมวิธี เช่น

paste_image19.jpg

                1.1  การออกแบบลวดลายบนกระดาษ  เป็นการออกแบบที่ต้องการบันทึกเหตุการณ์  เรื่องราวและความรู้ต่างๆให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา  การออกแบบลวดลายลักษณะนี้จึงมักจะใช้ประกอบกับการเขียนอักษร  โดยการใช้ลวดลายเป็นสื่ออธิบายให้ทำความเข้าใจง่ายขึ้น  การออกแบบลวดลายบนกระดาษสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การวาดภาพ  การทำแม่พิมพ์จากไม้หรือโลหะ  การจารด้วยเหล็กแหลม  การพิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์

               paste_image25.jpg1.2  การออกแบบลวดลายบนไม้  เป็นการออกแบบเพื่อประดับตกแต่งไม้ที่ใช้ประกอบสถาปัตยกรรมให้มีความสวยงาม  มีเนื้อหาสาระมากขึ้นนอกจากนี้การเตรียมพื้นที่ก่อนการออกแบบลวดลายลงไป  ยังช่วยให้เนื้อไม้มีความทนทานยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น

                1.3  การออกแบบลวดลายบนผนัง    เป็นการออกแบบพื้นผิวระนาบที่มีความเก่าแก่ที่สุด  ที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์  และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่รอบตัวมนุษย์  พบเห็นได้ทุกวัน  เช่น  ผนังถ้ำ  เพิงผา  ฝาบ้าน  ผนังโบสถ์และวิหาร  จึงง่ายและเหมาะสมในการออกแบบลวดลาย

                ลักษณะของลวดลายจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยโดยสอดคล้องกับความเชื่อ  ศาสนาและความสามารถของผู้สร้างสรรค์ผลงาน

                1.4  การออกแบบลวดลายบนผ้า  เป็นการออกแบบลวดลายเพื่อตกแต่งวัสดุที่มีความเบาบางอ่อนพลิ้ว  ลักษณะของลวดลายจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน  เช่น  นำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำหรับใช้สอย  หรือทำพระบฏสำหรับตอบสนองความเชื่อ  ความศรัทธาในศาสนา  การออกแบบลวดลายผ้ามีหลายวิธี  เช่น  การย้อมผ้า  การทอและการวาดภาพระบายสี

                1.5  การออกแบบลวดลายบนกระจก    เป็นการออกแบบลาดลายบนวัสดุที่มีความมันและเรียบ  โดยการเขียนสี  กัดด้วยกรดหรือพ่นด้วยทราย  ในสมัยโกธิก (Gothic) จะใช้วิธีประดับกระจกสีหน้าต่าง (Stained  Glass) ของวิหาร  ความสดใสของสีกระจกเมื่อแสงสว่างส่องผ่าน  สร้างบรรยากาศให้เกิดความขลังและศักสิทธิ์

 

 การออกแบบลวดลายผนังหุ้มกลอง  ด้านหลังพระพุทธสิหิงค์ วิหารลายคำ   วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่       
แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของจีนที่นำมาใช้ในการออกแบบประกอบด้วย มังกร หงส์ไป่เคอ ลายสายฟ้า ลายเมฆใช้วิธีการลงรักปิดทอง

 

 

    

การตกแต่งผนังด้วยแผ่นกระเบื้องเคลือบสีขนาดเล็ก  
เป็นลวดลายทางคริสตศาสนาบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ

  

    

การออกแบบลวดลายผ้าด้วยการทำบาติก

ลวดลายประดับกระจกสีของมหาวิหาร Chartres

2.  การออกแบบลวดลายตกแต่งผลิตภัณฑ์  3  มิติ

paste_image39.jpg

                การออกแบบลวดลายตกแต่งผลิตภัณฑ์  3  มิติ   เป็นการออกแบบลวดลายบนรูปทรงที่มีความลึกและหนา  ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป  ดังนั้นการออกแบบลวดลายจึงต้องคำนึลถึงรูปทรงเหล่านี้ประกอบด้วยเพื่อให้เกิดการสอดคล้อง  สัมพันธ์กัน  เช่น  รูปทรงกลม  สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยมและรูปทรงอิสระอื่นๆ

                รูปทรงต่างๆนี้อาจจะมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกัน  ซึ่งแต่ละลักษณะของลวดลายจะมีเป้าหมายที่เหมือนกันคือ  ต้องสร้างความสวยงามเหมาะสมให้กับรูปทรงนั้น

 

ลวดลายบนแก้วเป็นชุดต่างๆ

 

3.  การออกแบบลวดลายตกแต่งสถาปัตยกรรม   

                การออกแบบลวดลายตกแต่งสถาปัตยกรรม   เป็นการใช้ลวดลายตกแต่งพื้นที่ต่างๆของสถาปัตยกรรมทั้งภายในและภายนอกให้มีความสวยงาม  อลังการ  น่าศรัทธา  การตกแต่งสถาปัตยกรรม  ในระยะแรกๆจะเน้นที่ศาสนสถาน  เช่น  วิหาร  โบสถ์  ก่อนจะปรับเปลี่ยนมาใช้กับที่พักอาศัยโดยวิธีการที่ใช้จะแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์  ลักษณะของงานและพื้นที่ในการตกแต่งลวดลาย  ซึ่งวิธีการโดยรวมจะมี 2 วิธี คือ

                3.1  ประติมากรรม    จะเป็นการนำเอากรรมวิธีต่างๆในการสร้างลวดลายทางประติมากรรมมาประกอบเข้ากับรูปทรงสถาปัตยกรรม  ช่วยเน้นความงามของสถาปัตยกรรมให้เด่นชัดขึ้น  โดยทำให้ประโยชน์ใช้สอยสูญเสียไป  เช่น  การแกะสลักลวดลายหัวเสาของอียิปต์  กรีก  และโรมัน  การปั้นลวดลายตกแต่งซุ้มประตูโขง  หน้าบันของอุโบสถและวิหารในศิลปะล้านนา  หรือการแกะสลักบานประตู  บานหน้าต่างของศาสนสถานต่างๆ

ลวดลายปูนปั้นตกแต่งซุ้มประตูโขง  วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง

                3.2  จิตรกรรม ลวดลายที่นำมาใช้สำหรับตกแต่งสถาปัตยกรรมโดยใช้วิธีการทางจิตรกรรม  ผู้ออกแบบนนิยมนำลวดลายที่เป็นมงคลมีความหมายในการเสริมชีวิตให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น  หรือลวดลายที่บอกเล่าเรื่องราวทางศาสนา  และความเชื่อต่างๆ ซึ่งในแต่ละเรื่องราวจะสอดแทรกเนื้อหาทางสังคม  ประเพณี  และประวัติศาสตร์เอาไว้อยู่เสมอ

จิตรกรรมสีฝุ่นบนแผงไม้คอสอง  ของวิหารน้ำแต้ม  วัดพระธาตุลำปางหลวง

 

ประเภทของลวดลาย

                ลวดลายที่มนุษย์นำมาออกแบบเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน  ล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งที่อยู่รอบตัวแทบทั้งสิ้น  บางลวดลายจะนำเอาสิ่งที่พบเห็นแสดงออกมาตรงๆ โดยไม่ประยุกต์หรือดัดแปลง  แต่บางลวดลายได้ผ่านกระบวนการคิดและกลั่นกรองมาอย่างเป็นระบบเพื่อให้ลวดลายที่จะนำมาใช้งานมีความสมบูรณ์ที่สุด

                เนื่อจากมีลวดลายบางประเภทจะมีความหมายที่ซ่อนเร้นแอบแฝงอยู่  ลักษณะของลวดลายจะเป็นสัญลักษณ์หรือปริศนาธรรม  การเลือกใช้จึงควรรู้ถึงความหมายและใช้อย่างเหมาะสมซึ่งลวดลายเหล่นนี้จำแนกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

                1.ลวดลายธรรมชาติ

                ลวดลายธรรมชาติ  เป็นลวดลายที่พบเห็นอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวันถูกมนุษย์นำมาเป็นสื่อในการบันทึกและบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ  ตลอดจนนำมาสร้างสรรค์เป็นลวดลายในสร้างความสวยงามให้กับผลิตภัณฑ์  เครื่องมือ  เครื่องใช้  ที่พักอาศัย  และศาสนสถาน

ลวดลายจากธรรมชาติเหล่านี้ประกอบด้วย

paste_image53.jpg

 1.1   ลวดลายจากสิ่งที่มีชีวิต  เช่น  คน  สัตว์  ถูกนำมาออกแบบเป็นลวดลายในลักษณะที่เหมือนจริงบ้าง  ถูกตัดทอนเพื่อลดความซับซ้อนลงบ้างหรือถูกเพิ่มเติมโดยผสมผสานจิตนาการและความเชื่อให้ดูสูงส่ง  น่าเชื่อถือเข้าไปบ้าง

1.2   ลวดลายจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ภูเขา ต้นไม้ ทะเล แม่น้ำ เป็นลวดลายนิยมนำมาใช้ในการออกแบบเพื่อสร้างสีสันและบรรยากาศมากที่สุดชนิดหนึ่งอาจจะใช้สิ่งที่ไม่มีชีวิตเพียงอย่างเดียว  หรือนะมาประกอบเข้ากับสิ่งมีชีวิตทำให้ลวดลายมีความสมดุลขึ้นและลวดลายชนิดนี้ถูกนำไปประยุกต์  ดัดแปลงสร้างความสวยงามได้อย่างเหมาะสมกลมกลืนกับขนบธรรมเนียบประเพร๊ของประเทศต่างๆ ได้เป็นอย่างดี  เช่น  หลายกระหนกต่างๆ ของไทย

 

2. ลวดลายเลขาคณิต

                ลวดลายเลขาคณิต เป็นลวดลายที่เกิดจากการขูดขีดเส้นเป็นลวดลายง่ายๆ  ก่อนจะนำมาประกอบกันจนเกิดเป็นรูปร่างขึ้นมา  ตามลักษณะของเลขาคณิตและถูกนำไปใช้ออกแบบเป็นลวดลายตกแต่งในผลงานทางศิลปะแขนงต่างๆ 

 ลวดลายเรขาคณิต ที่นำมาออกแบบจัดวางบนถุงกระดาษให้ดูแปลกตา

 

 3. ลวดลายสัญลักษณ์

                ลวดลายสัญลักษณ์  เป็นลวดลายที่เกิดจากการนำลวดลายจากธรรมชาติ  และลวดลายเลขาคณิตมากำหนดเป็นสัญลักษณ์  และให้ความหมายขึ้นมานอกเหนือจากการตกแต่งเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียวโดยความหมายต่างๆ จะถูกซ้อนเร้นเป็นปริศนาเพื่อให้ผู้พบเห็นได้คิดและแปลความหมายออกมาตามหลักของศาสนาในแต่ละลัทธิ  แต่ละนิกาย  ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นมงคลแก่ชีวิตทั้งสิ้น  เช่น  อวยพรให้มีความสุข  อายุยืน  เจริญก้าวหน้าในอาชีพ  ร้ำรวยทรัพย์สินเงินทองหรือในบางศษสนาจะใช้สัญลักษณ์บอกเล่าเรื่องราวทางศาสนสา  เช่น

                นกอินทรี  เป็นสัญลักษณ์ของพระคริสต์ (กุลวดี  มกราภิรมย์,2542,58)

                ปลา  เป็นสัญลักษณ์ของพระคริศต์และการรับศีลล้างบาป

                หม้อปูรณฆฏะ  เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์เป็นต้น

ภาพ Super at Emmaus เป็นภาพลวดลายสีน้ำมันบนผ้าใบ
วาดเมื่อ ค.ศ. 1525 แสดงลวดลายสัญลักษณ์รูปดวงตาในสามเหลี่ยม      
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตรีเอกภาพในศาสนาคริสต์

 

สรุป 

                การออกแบบลวดลายเป็นผลงานศิลปะชนิดแรกที่มนุษย์เริ่มรู้จักสร้างสรรค์  โดยการขูดขีดลงบนอาวุธ  เครื่องมือ  เครื่องใช้  และพัฒนามาเป็นการเขียนสีบนร่างกาย  บนผนังถ้ำ  และเพิงผาที่พักอาศัย  ลวดลายในระยะแรกๆ จะเรียบง่าย  บริสุทธิ์  สื่อความหมายออกมาตรงๆ  โดยไม่สลับซับซ้อน  เช่น  ภาพคน  สัตว์  เครื่องใช้ไม้สอย  ซึ่งลวดลายเหล่านี้จะแทรกอยู่ในงานศิลปะทุกแขนงและนำถูกนำมาแยกประเภทตามกรรมวิธีในการสร้างเป็นจิตกรรม  ประติมากรรม  สถาปัตยกรรม  และภาพพิมพ์ในภายหลังเพื่อการจัดหมวดหมู่ของงาน

                การออกแบบลวดลายแบ่งออกได้ 3 ชนิดได้แก่  การออกแบบลวดลายตกแต่งวัสดุ 2 มิติ  การออกแบบลวดลายตกแต่งผลิตภัณฑ์ 3 มิติ  และการออกแบบลวดลายสถาปัตยกรรม  โดยลวดลายที่นำมาใช้ออกแบบนั้นจะได้มาจากธรรมชาติ  จากรูปทรงเลขาคณิตและสัญลักษณ์ต่างๆ

 

ทบทวนบทเรียน 

จงตอบคำถามว่าใช่หรือไม่ให้ถูกต้อง

 

 Toggle open/close quiz question

 Toggle open/close quiz question

 Toggle open/close quiz question

 Toggle open/close quiz question

 Toggle open/close quiz question

แบบฝึกหัด

(คะแนนเต็ม 20 คะแนน)

  1. นักศึกษาทำแบบฝึกหัดต่อไปนี้ให้ครบทุกข้อ ให้ได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 80% (ทำถูกต้องอย่างน้อย 9 ข้อ)
  2. เมื่อทำเสร็จแต่ละข้อให้คลิกปุ่ม Check Answer เพื่อยืนยันการตอบ และดูคะแนน
  3. หลังจากทำเสร็จทุกข้อ ให้นักศึกษาเลื่อนไปท้ายบทเรียนหน้านี้ เลือก Print Score Summary
    เพื่อดูผลคะแนนและพิมพ์คะแนนส่งอาจารย์

 

1. จงตอบคำถาม ใช่ หรือ ไม่ ให้ถูกต้อง

 Toggle open/close quiz question

 Toggle open/close quiz question

  Toggle open/close quiz question

 Toggle open/close quiz question

 

 

 Toggle open/close quiz question

 

 

2) จงเรีบงลำดับความหมายของการออกแบบลวดลายให้ถูกต้อง