การออกแบบผลิตภัณฑ์ลูกผสม

           แนวคิดในการผสมผสานประโยชน์การใช้งานของผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้น ให้สามารถใช้งานได้หลายอย่าง  จุดประสงค์ก็เพื่อประหยัดเนื้อที่การจัดเก็บ สะดวกต่อการใช้งาน สะดวกต่อการดูแลรักษา  ประหยัดพลังงานและวัตถุดิบในการผลิต  หรืออื่นๆ นับเป็นข้อดีของผลิตภัณฑ์ในมุมมองของผู้บริโภคยุคใหม่  ที่ทำให้นักออกแบบต่างพยายามสร้างสรรค์เครื่องใช้ไม้สอยที่ไม่เพียงแต่รูปทรงสวยงามเท่านั้น  หากยังมีการผสมผสานอรรถประโยชน์การใช้งานเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น  รองเท้าที่มีล้อเล็ก ๆ  พับเก็บได้  โดยทำหน้าที่เป็นรองเท้าสเก็ตในบางโอกาส เป้เด็กที่สามารถดัดแปลงเป็นของเล่นได้  โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เป็นเครื่องเล่น  MP3  ในตัวรถยนต์ประหยัดพลังงานที่ใช้ได้ทั้งน้ำมันเบนซินและแบตเตอรี่ไฟฟ้า  เป็นต้น

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์ดี

          แนวคิดการออกแบบที่ทำให้เกิดอารมณ์ดี (Fun  Design) มีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว และได้รับการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น  มีการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงกันมาเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน เช่น ที่นั่งเล่นFernando & Humberto Campana  ที่เย็บออกมาเหมือนไส้เดือนยาวๆ  ยัดด้วยฟองน้ำขดไปขดมา หรือผลงานของ Frank Gehry  ที่ทำเป็นเหมือนกับกระดาษยับๆ แต่ความจริงแล้วทำมาจากโลหะ

          แนวทางการออกแบบที่ทำให้เกิดอารมณ์ดี  เป็นลักษณะของการนำเอาของบางอย่างมาเปลี่ยนวัตถุประสงค์ที่ใช้  หรือนำของบางสิ่งมาใช้แทนของอีกสิ่งหนึ่ง  หรือทำให้มันใหญ่ขึ้นจากที่เราเคยเห็นเป็นชิ้นเล็กๆ ทำให้มองแล้วแปลกตาและเรียบร้องความสนใจได้  การออกแบบนั้นไม่ต้องคิดมากแต่ต้องมาจากความชอบที่อยู่ในใจ  แต่เราต้องใช้ให้ถูกที่ ไม่เช่นนั้นจะทำให้ผลงานที่ออกแบบมาดูตลกและไร้สาระ จึงต้องอาศัยการเรียนรู้  เป็นคนช่างสังเกต เป็นนักทดลอง และการออกแบบแนวนี้ควรมองจากสิ่งรอบๆ ตัวเรา  มองจากสิ่งที่เรียบง่าย ทำในสิ่งที่เรารู้สึกชอบและมีอารมณ์สนุกกับมัน รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์มักเน้นสีสดใส ให้ความรู้สึกดีๆทุกครั้งที่ใช้และที่สำคัญคือรูปแบบต้องแปลกใหม่และดูลงตัว  รวมทั้งตอบรับกับรูปแบบชีวิตของคนเมืองได้ เพื่อเป็นการชดเชยชีวิตในเมืองที่เครียดและวุ่นวาย

 

 


Click to close