หน่วยที่ 4
แบบร่างและการนำเสนอ
ในงานบรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่ใช้กับวัสดุที่เป็นระนาบ เพื่อขึ้นรูปในกระบวนการผลิต ให้เป็นรูปทรงต่างๆ โดยคำนึงความสอดคล้องกับรูปทรงของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใน เช่น การขึ้นรูปกล่องกระดาษ กระเป๋า ถุง เป็นต้น เมื่อได้รับโจทย์ภารกิจให้ออกแบบบรรจุภัณฑ์เรื่องใดเรื่องหนึ่งกระบวน การเริ่มต้นในการแก้ปัญหาให้ลุล่วง ส่วนแรกๆคือการร่างแบบละเขียนแบบ การเขียนแบบจึงต้องมีลักษณะเฉพาะเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์กับบรรจุภัณฑ์แต่ละแนวคิด และวัสดุที่จะนำ มาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ การเขียนแบบวิธีการแผ่นคลี่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับบรรจุภัณฑ์ประเภทกระ- ดาษและรูปทรงกล่อง ถุง ซอง หีบห่อ การเขียนแบบแผ่นคลี่จึงมีความเหมาะสมกับพื้นผิวของแผ่นชิ้นงานที่ต้องการตัด ดัดหรือม้วนขึ้นรูป เป็นชิ้นงานสำเร็จรูปตามต้องการ
กระดาษเขียนแบบ เป็นวัสดุรองรับการเขียนแบบ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.1 กระดาษเขียนแบบด้วยดินสอ ใช้กระดาษปอนด์สีขาวชนิดผิวไม่ลื่นหรือเป็นมัน เพราะผิวที่มันจะลื่นดินสอเขียนไม่ค่อยติดเส้นไม่คมชัด นักเขียนแบบจึงมักนิยมใช้กระดาษวาดเขียนชนิด 80 ปอนด์ หรือ 100 ปอนด์
1.2 กระดาษเขียนแบบลงหมึก การเขียนแบบลงหมึกนั้นเขียนด้วยปากกาเขียนแบบจึงใช้กระดาษไขในการเขียนแบบลงหมึก กระดาษไขมีลักษณะของผิวกระดาษที่มันเนื้อกระดาษขาวขุ่น สามารถมองเห็นเส้นหมึกได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ในการทำงานจริงจะใช้กระดาษไขในการเขียนแบบเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายพิมพ์เขียว ขนาดกระดาษไขมีความหนาแตกต่างกันหลายขนาด เช่น 90/95GSM 110/115 GSM กระดาษไขชนิดหนามีราคาสูง แต่คุณภาพดี ไม่ยับหรือเป็นรอยง่าย และเมื่อเขียนแบบผิดพลาดก็สามารถใช้วิธีขูดหรือลบออกได้
บรรทัดฉากสามเหลี่ยม หรือเซท เป็นเครื่องมือสำหรับเขียนเส้นตรงแนวตั้งและเส้นทแยง โดยจะใช้ในการเขียนแบบร่วมกับไม้ที หรือใช้ไม้บรรทัดเลื่อน ไม้ฉากสามเหลี่ยมนี้มีหลายขนาด เลือกใช้ตามแต่ขนาดของแบบที่จะเขียนและความสะดวกของผู้เขียนแบบ บรรทัดฉากสาม เหลี่ยมมีชนิดมุมบังคับอยู่ 2 ชนิด คือ
2.1 ชนิดมุม 45 องศา หมายถึง มุมตรงข้ามด้านสั้นของสามเหลี่ยมทั้งสองมุม กาง
มุมละ 45 องศา ส่วนมุมตรงข้ามด้านยาวเป็นมุมกาง 90 องศาหรือมุมฉากขนาดที่เหมาะในการใช้คือขนาด 8 นิ้ว
2.2 ชนิดมุม 30 และ 60 องศา เป็นรูป 3 เหลี่ยมด้านไม่เท่ามีมุม 90 องศา มุม 60 องศา และมุม 30 องศา ขนาดที่เหมาะในกาใช้คือ ขนาด 10 นิ้ว
2.3 ไม้ฉากสามเหลี่ยมชนิดปรับมุม ไม้สามเหลี่ยมชนิดนี้ มีด้านที่กำหนดมุมตายตัวมามุมเดียวคือมุม 90 องศาส่วนมุมอื่นๆ เมื่อยังไม่กางออกใช้งานตามมุมที่ต้องการก็จะเป็นมุมประ-กอบมุมฉากของสามเหลี่ยมคือมุม 45 องศา ไม้สามเหลี่ยมชนิดนี้มีแขนที่สามารถปรับมุมได้ตามกำหนดที่ต้องการ เมื่อกางออกตามมุมที่กำหนดจะได้มุมฉาก 1 มุม มุมตามองศาที่ต้องการ 1 มุม และมุมตรงข้ามของมุมที่กำหนดอีก 1 มุม การเลือกกำหนดมุมที่ต้องการนั้นจะมีตัวเลขและระยะองศาของมุมปรากฏอยู่บนไม้ฉากสามเหลี่ยมนั้น
ดินสอที่ใช้ในงานออกแบบเขียนแบบจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานดินสอมีความเป็นมาตั้งแต่ศตวรรษที่14 ได้มีการประดิษฐ์ดินสอ โดยนำกราไฟต์มาผสมดินคาโอลินหรือดินขาวทำเป็นไส้แล้วหุ้มด้วยไม้ ใช้ในงานเขียนภาพและเขียนแบบ ต่อมาได้มีการพัฒนาออกมาหลากหลายรูปแบบ เช่น ดินสอกด ดินสอเปลี่ยนไส้
ไส้ดินสอแบ่งออกได้ 3 ชนิด คือ
3.1 ดินสอชนิดไส้อ่อน ใช้อักษร B เป็นสัญลักษณ์ ตั้งแต่ไส้อ่อนน้อยจนถึงอ่อนมาก 2B 3B 4B 5B 7B
3.2 ดินสอชนิดไส้แข็ง ใช้ อักษรH เป็นสัญลักษณ์ ในงานเขียนแบบที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำ ลักษณะเส้นเล็กบาง ได้แก่ งานเขียนแบบเครื่องกล งานเขียนแบบวิศวกรรม 4H 5H 6H 7H 8H 9H
3.3 ดินสอไส้แข็งปานกลาง ใช้ในงานเขียนแบบทั่วไป งานเขียนแบบร่าง ใช้ อักษรHB เป็น สัญลักษณ์
ปากกาเขียนแบบ ใช้สำหรับเขียนแบบลงหมึกลงบนกระดาษไข เพื่อนำไปใช้เป็นต้นฉบับในการถ่ายพิมพ์เขียวนิยมใช้หมึกสีดำมีหลายชนิด จึงควรเลือกใช้ได้ตามความต้องการ
4.1 ปากกาชนิดจุ่มเขียน (Speedball) ใช้จุ่มหมึกดำเขียน เขียนเส้นและตัวอักษรได้หลายลักษณะมีขนาดของปากแตกต่าง
4.2 ปากกาชนิดบรรจุหมึกในตัว ปลายปากกามีลักษณะเป็นเข็มแหลมทำด้วยโลหะแสตน -เลส ปากมีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามต้องการ ราคาค่อนข้างแพง เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ขนาดของเส้นปากกาที่ใช้ตามมาตรฐานสากล แบ่งได้ 2 ระบบ
4.2.1 การเขียนแบบทั่วไป ใช้ขนาดเส้น 0.1 0.2 0.3 0.4 0.5 0.6 0.8 1.0 และ 1.2 มิลลิ -เมตร
4.2.2 การเขียนแบบ ISO ใช้ขนาดเส้น 0.13 0.18 0.25 0.35 0.5 1.0 1.4 และ 2.0 มิลลิ- เมตร
การเขียนแบบในงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ ประกอบด้วยภาพ 2 ลักษณะ คือการเขียนภาพ2มิติ ใช้ในการเสนอรูปด้านของแบบเช่น ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านผัง แยกออกจากกัน ต่างจากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่นิยมเขียนภาพแสดงรูปด้านที่ต่อเชื่อมรูปด้านทั้ง 8 ด้านเข้าด้วยกัน และการเขียนภาพ 3 มิติ ด้วยวิธีการทัศนียภาพ
แผ่นคลี่คือ การเขียนภาพเต็มขนาดพื้นที่ผิววัตถุต่างๆ ให้กว้างออกไปบนพื้นที่ราบแสดงรูปแบบแผ่นคลี่เกิดจากการร่างแบบ ที่เรียกว่าการเขียนแบบแผ่นคลี่ ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้ใช้กันแพร่ หลาย และเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของงาน เช่น การเขียนแบบโลหะแผ่น การเขียนแบบบรรจุภัณฑ์ การเขียนแบบเครื่องหนัง การเขียนแบบตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น โดยการเขียนแบบแผ่นคลี่ ก่อนที่จะผลิตก็ต้องใช้แบบแผ่นคลี่เป็นส่วนที่พัฒนาขึ้นมาก่อนที่ชิ้นงานจะถูกนำไปใช้ในการผลิตจริงต่อไป
ภาพคลี่เป็นการนำเสนองานเขียนแบบที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่าง โดยการเขียนแบบคลี่พื้นผิวของวัตถุ ตามปกตินั้นจะใช้ในงานวัสดุที่มีการทรงตัวเป็นวัสดุชนิดแผ่นแต่อ่อนตัว สามารถม้วนพับและคลี่ได้ เช่น กระดาษ สังกะสี อะลูมิเนียม หรือเหล็กแผ่น เป็นต้น การคลี่พื้นผิวของวัตถุจะต้องได้รูปแบบจากการเขียนแบบภาพฉายมา เพื่อใช้สร้างภาพคลี่ การออกแบบแผ่นคลี่ให้เป็นรูป ทรงต่างๆ ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ในการใช้สอยของมนุษย์นั้น ได้อาศัยรูปทรงพื้นฐานเรขาคณิต เป็นหลัก ในการประยุกต์รูปแบบขึ้นเพื่อนำมาใช้งาน
รูปทรงพื้นฐานการเขียนแบบแผ่นคลี่มี 4 แบบ คือ รูปทรงปริซึมรูปทรงกระบอกรูปทรงพีระมิด รูปทรงกรวย
โดยวิธีการเขียนแบบแผ่นคลี่ มีขั้นตอนดังนี้
3.1 เขียนแบบแผ่นคลี่ของชิ้นงานที่ออกแบบเรียบร้อยแล้ว ลงในกระดาษแบบที่ต้องการ
3.2 คัดลอกแบบแผ่นคลี่จากกระดาษแบบ ลงบนผิววัสดุที่ต้องการทำบรรจุภัณฑ์ เช่นกระดาษแข็ง ผ้า แผ่นพลาสติก กระดาษลูกฟูก เป็นต้น
3.3 ใช้มีดตัดวัสดุบรรจุภัณฑ์ ตามแนวรอยเส้นร่าง ตัดวัสดุในส่วนที่ไม่ต้องการออก เหลือแผ่นคลี่ที่จะนำไปทำบรรจุภัณฑ์ไว้
3.4 นำภาพแผ่นคลี่ที่ได้ ไปพับขึ้นรูปเป็นรูปร่างตามแบบที่ออกแบบไว้
3.5 ยึดติดส่วนประกอบของชิ้นงานเข้าด้วยกัน ตรวจสอบความประณีตเรียบร้อยของด้านต่างๆ
3.6 นำบรรจุภัณฑ์ที่ได้ ไปตกแต่งรายละเอียดอื่นๆ เช่น ส่วนประกอบ การแต่งสี การเคลือบ เป็นต้น
การเขียนแบบแผ่นคลี่จะเขียนแบบเพิ่มพื้นที่เผื่อไว้สำหรับการทำขอบ ริมขอบและทำตะเข็บ เพื่อสามารถยืดหยุ่นในขั้นตอนการพับขึ้นรูปภาพคลี่ ยิ่งเป็นวัสดุที่มีความหนามากหรือจำเป็นต้องพับ การเผื่อเพื่อจับยึดรูปทรงของวัตถุให้แข็งแรงยิ่งขึ้นก็มีความสำคัญมาก
ขอบ เป็นการพับริมของแผ่นกระดาษหรือวัตถุ ซึ่งทำให้เกิดความแข็งแรงและความสวย งามเรียบร้อย ส่วนใหญ่จะทำเป็นมาตรฐานเดียวกันคือขนาด (3/16 นิ้ว) (1/14 นิ้ว) และ (3/8 นิ้ว) เป็นต้น ทั้งนี้และทั้งนั้นจะคำนึงถึงความหนาของแผ่นชิ้นงานและวัตถุประสงค์ของงานเป็นหลัก
เส้นขอบลวด เป็นการใส่ลวดที่ขอบชิ้นงาน เพื่อทำให้เกิดความสวยงามเรียบร้อยและเพิ่ม ความแข็งแรงให้กับชิ้นงานมากขึ้นเป็นพิเศษ
ตะเข็บ ในการทำผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปโดยวิธีการเขียนแบบแผ่นคลี่ ตะเข็บเป็นสิ่งที่มีความ จำเป็นมากในการต่อยึดประสานชิ้นงานเข้าด้วยกัน ดังนั้นในการเขียนแบบแผ่นคลี่ต้องเพิ่มพื้นที่สำ –หรับการทำตะเข็บ และการจะเพิ่มพื้นที่ของตะเข็บมากน้อยเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้
1) ชนิดของตะเข็บ
2) ขนาดของตะเข็บ
3) ความหนาของวัสดุที่ใช้
ตะเข็บนั้นมีมากมายชนิดให้เลือกใช้ เพื่อความเหมาะสมกับงานแต่ละประเภทตะเข็บสามารถ ยึดต่อให้แข็งแรงได้โดยตัวมันเอง หรืออาจจะใช้วิธีการหนึ่งช่วยทำให้แข็งแรงเพิ่มขึ้นหรือเพื่อกันรั่ว เช่นการเชื่อม การย้ำหมุด การเย็บ การติดกาว เป็นต้น ในการพับขอบชิ้นงานเพื่อความแข็งแรงของงานนั้น มุมที่ตะเข็บจะตัดเป็นมุม 45 องศา จะทำให้งานที่พับชนกันพอดีไม่เกยกัน
เรื่องเส้นและจุดเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเขียนแบบแผ่นคลี่ โดยเฉพะวัตถุทรงกลมในการสร้างงาน วงกลมนั้นให้แบ่งวงกลมเป็น12 ส่วนเท่า ๆ กัน สำหรับโค้งที่ไม่ปกติในการลากเส้นโค้งต้องใช้ บรรทัดโค้ง เป็นอุปกรณ์ช่วยในการลากเส้นเชื่อมโยง เพื่อช่วยทำให้เส้นเชื่อมต่อกันได้เส้นโค้งที่สม่ำ- เสมอ
ภาพคลี่เป็นส่วนหนึ่งของการเขียนแบบในขั้นการเขียน เพื่อใช้ในการผลิตสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเขียนโดยนำเอาภาพด้านต่างๆ มาติดต่อกันเป็นแผ่นเดียวกันจนครบแล้วสามารถจะพับหรือ ม้วนประกอบเป็นรูปทรงตามต้องการ ซึ่งรูปทรงนั้นจะต้องทำด้วยวัสดุที่เป็นแผ่นบาง ๆ เช่น โลหะแผ่น พลาสติก กระดาษ ผ้า และรูปทรงที่จะนำมาประกอบขึ้นรูปด้วยภาพคลี่ ควรจะมีรูปทรงเรขาคณิต สามารถเขียนได้ ดังนี้
5.1 การเขียนภาพคลี่วิธีใช้เส้นขนาน เป็นการใช้เขียนแผ่นคลี่ วัตถุที่มีรูปทรงลูกบาศก์ รูปทรงกระบอกรูปทรงเหลี่ยม เพราะขอบด้านของวัตถุย่อมขนานกันเสมอ
5.1.1 การเขียนภาพคลี่วิธีใช้เส้นขนานวัตถุรูปกล่องสี่เหลี่ยม วิธีเขียน ลากเส้นขนาน 2 เส้น ระยะห่างเท่ากับความสูงของกล่อง (วัดจากภาพด้านหน้า หรือภาพด้านข้าง) ถ่ายขนาดความกว้าง ความยาว จากภาพด้านผังมากำหนดที่เส้นขนาน จะได้ความยาวของแผ่นคลี่ทั้ง 4 ด้าน เขียนภาพด้านผังเป็นฐาน 1 ภาพ และเป็นส่วนบน 1 ภาพ
5.1.2 การเขียนภาพคลี่วิธีใช้เส้นขนานวัตถุรูปทรงกระบอก วิธีเขียนแบ่งภาพด้านผังออกเป็น 16 ส่วน ลากเส้นขนาน 2 เส้นระยะห่างเท่ากับความสูงของรูปทรงกระบอก ใช้วงเวียนถ่ายขนาด 1 ใน 16 ส่วน มากำหนดที่เส้นขนานให้ครบ 16 ส่วน จะได้ความยาวของแผ่นคลี่สร้างวงกลมรัศมีเท่ากับภาพด้านผัง สำหรับแผ่นที่ฐาน 1 ภาพ และที่สวนบน 1 ภาพ
5.1.3 การเขียนภาพคลี่วิธีใช้เส้นขนานวัตถุรูปทรง 6 เหลี่ยม วิธีเขียนลากเส้นขนาน2 เส้นระยะห่างเท่ากับความสูงของรูปทรงหกเหลี่ยม วัดจากภาพด้านหน้าหรือภาพด้านข้าง ถ่ายขนาดด้านทั้ง จากภาพด้านผังมากำหนดที่เส้นขนานจะได้ความ ยาวของแผ่นคลี่ทั้ง 6 ด้าน เขียนภาพด้านผังรูปหกเหลี่ยม สำหรับที่ฐาน1ภาพ ที่ส่วนบน1ภาพ
5.2 การเขียนภาพคลี่วิธีใช้เส้นรัศมี
เป็นการเขียนภาพแผ่นคลี่วัตถุรูปทรงพีระมิด รูปทรงกรวยกลม กรวยเหลี่ยม โดยมีความยาวของทุกด้านเท่ากัน และมีลักษณะเป็นเส้นรัศมีมีจุดยอดเป็นจุดศูนย์กลาง เมื่อคลี่รอยพับหรือคลายม้วนออกเป็นแผ่นเรียบจะได้แผ่นคลี่ ซึ่งมีจุดยอดเป็นจุดรวม
5.2.1 การเขียนภาพคลี่วิธีใช้เส้นรัศมีวัตถุรูปทรงพีระมิด วิธีเขียน เริ่มจากการหาความสูงที่แท้จริงจากภาพด้านผังใช้จุดยอดเป็นศูนย์กลางทำรัศมีถึงมุมรูปสี่เหลี่ยมเขียนส่วนโค้ง ลากเส้นตั้งฉลากสัมผัสส่วนโค้งที่จุดA ไปพบเส้นฐานที่ภาพด้านหน้าที่จุดตัด ลากเส้นตรงไปยังจุดยอด O เส้นAO จะเป็นเส้นส่วนสูง
ใช้วงเวียนทำรัศมีเท่ากับAO เขียนส่วนโค้ง ถ่ายขนาดทั้ง 4 ด้านจากภาพด้านผังมากำหนดบนเส้นโค้ง จะได้แผ่นคลี่ของรูปทรงพีระมิด เขียนฐานสี่เหลี่ยม
5.2.2 การเขียนภาพคลี่วิธีใช้เส้นรัศมีวัตถุทรงกรวยกลม วิธีเขียนใช้จุดยอดองภาพด้านหน้าเป็นจุดศูนย์กลางทำรัศมีเท่ากับด้านAO เขียนส่วนโค้ง แบ่งภาพด้านผังออกเป็น 16 ส่วนเท่าๆ กัน ถ่ายขนาด 1 ส่วน มากำหนดบนเส้นโค้ง จำนวน16 ส่วน จะได้แผ่นคลี่ของรูปทรงกรวยวงกลมเท่ากับภาพด้านผัง
ใช้ในการเขียนภาพคลี่ของวัตถุรูปทรงพีระมิดเอียง รูปทรงกรวยเอียงรูปข้อต่อ และรูปทรงอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถใช้วิธีเส้นขนานและวิธีเส้นรัศมีได้ การเขียนภาพคลี่โดยวิธีใช้รูปสามเหลี่ยมนี้ จะต้องแบ่งพื้นผิวของวัตถุออกเป็นรูปสามเหลี่ยมหลายๆรูป และหาขนาดจริงของรูปสามเหลี่ยมนั้น โดยหาความยาวจริงของแต่ละด้าน แล้วทำรูปสามเหลี่ยมนั้นๆ ประกอบกันทั้งหมด เป็นเทคนิคที่ใช้สร้างแบบแผ่นคลี่สำหรับรูปทรงเอียงและแบบซับซ้อน
การเขียนแบบแผ่นคลี่ ด้วยวิธีเส้นรัศมี
|
การเขียนแบบภาพคลี่รูปทรงพีระมิดยอดเฉียง |
การเขียนแบบแผ่นคลี่ รูปทรงพีระมิดฐานสามเหลี่ยมและฐานสี่เหลี่ยม
|
การเขียนแบบแผ่นคลี่ รูปทรงสามเหลี่ยม |
เป็นการนำเสนอสิ่งที่ต้องเสนอแก่ลูกค้า หรือฝ่ายอื่นๆในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังความเห็น พร้อมทั้งจูงใจให้ลูกค้ามีความคิดคล้อยตาม และเกิดความประทับใจกับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ได้เสนอไป หากมีปัญหาเกิดขึ้นในโครงการออกแบบ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ วิจัย ประชุมปรึกษาหารือก่อนที่จะนำเสนอ เมื่อได้ผลข้อสรุปในการออกแบบที่แท้จริงหรือได้แบบร่าง เพื่อที่จะได้แสดงส่วนต่างๆ ตามขั้นตอนอย่างคร่าวแล้ว เพื่อที่จะได้ปรับปรุงส่วนต่างๆได้ดีขึ้น หรือบางครั้งจำเป็นต้องทำหุ่นจำลองสำรับทดสอบรูปร่างประกอบด้วยก็ได้
แบ่งออกได้ 2 ขั้นตอน คือ
1.1 การร่างแบบ ( idea sketch ) คือการร่างภาพของบรรจุภัณฑ์อย่างคร่าวๆ เพื่อให้เห็นรูปร่างสำหรับใช้ในการทดลอง ปรับปรุง หรือพัฒนาการออกแบบ การร่างแบบควรทำการร่างหลายๆแบบ เพื่อมีโอกาสเลือกแบบที่ดีที่สุด วิเคราะห์ส่วนดี ส่วนเสีย เพื่อนำมาพัฒนาให้ได้แบบที่ดีที่สุด ตามวัตถุ ประสงค์ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้นๆ การร่างแบบโดยการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาประกอบ การร่างแบบ เพื่อให้ได้แบบร่างที่ตอบสนองการใช้งานและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภค
การถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ดขั้นต้นด้วยการร่างแบบ
1.2 ศึกษาแนวคิด ที่ถูกกำหนดมาหรือตามแนวคิดที่ได้มาจากข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องคำนึงในการร่างแบบ ในการออกแบบหากไม่มีขอบเขตของงาน จะทำให้การออกแบบไม่ตรงจุดที่ต้องการ เช่น แนวคิดที่ถูกตั้งไว้คือ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดลำปาง ประเภทเซรามิค หรือหัตถกรรม ที่แสดงเอกลักษณ์ของจังหวัดลำปาง โดยมีข้อความบ่งบอกถึงสถานที่ นำเอกลักษณ์ของจังหวัดลำปางมาจัดองค์ประกอบเป็นเรื่องราว หรือเป็นชิ้นงานตั้งโชว์ สามารถเสียบปากกาและกระดาษนามบัตรได้ ขนาดสูงไม่เกิน10 เซนติเมตร ขึ้นรูปด้วยวิธีการหล่อกลวงมีการตกแต่งลวดลายประกอบ ดังนั้นผู้ออกแบบก็สามารถออกแบบตามแนวทางนั้นๆได้ ไม่เกิดความไขว้เขว
1.3 เริ่มร่างแบบ ขั้นตอนนี้สามารถร่างแบบคร่าวๆหรือแบบละเอียดก็ได้ มีการใช้สีประกอบแบบเพื่อดึงดูดความสนใจ หรือร่างเฉพาะลายเส้นดินสอก็ได้ การร่างแบบยังไม่คำนึงสัดส่วนในการร่าง แสดงลักษณะรูปร่างรูปทรงภายนอกเท่านั้น การร่างแบบควรทำบนกระดาษวาดเขียนที่เป็นรูปเล่ม เพื่อสามารถเก็บเป็นข้อมูลสำรับพัฒนาแบบต่อไป วัสดุอุปกรณ์ในการร่างผู้ออกแบบเลือกใช้ตามความเหมาะสมการออกแบบควรศึกษารูปแบบจากข้อมูลที่หามาให้มาก หรือศึกษาจากรูปแบบที่เคยมีมาแล้ว จากสมุดรวบรวมแบบประกอบการร่างแบบ จะทำให้ได้รูปแบบที่หลากหลาย การร่างแบบบรรจุภัณฑ์สามารถร่างแบบลักษณะ 2 มิติ หรือ 3 มิติก็ได้ เพื่อทำให้เข้าใจรูปแบบบรรจุภัณฑ์นั้นๆได้ง่ายขึ้น ผู้ออกแบบจำเป็นต้องมีทักษะเบื้องต้นในการร่างภาพเขียนภาพ รูปด้าน หรือเขียนบรรจุภัณฑ์เป็นภาพ 3
มิติ เพื่อถ่ายทอดความคิดเป็นภาพได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง การร่างแบบไม่สามารถกำหนดเป็นกฎเกณฑ์มาตรฐาน ให้เหมือนการเขียนแบบได้ เนื่องจากรูปแบบบรรจุภัณฑ์มีความหลากหลาย และเพื่อเป็นการเปิดความคิดอย่างอิสระในเบื้องต้น ก่อนปรับปรุงพัฒนาให้เหมาะสมกับการผลิตชิ้นงานจริง ขั้นตอนการร่างแบบเบื้องต้น สำหรับผู้เริ่มศึกษา มีดังนี้
เส้น การเขียนโครงร่างของบรรจุภัณฑ์ อาศัยหลักการวาดเขียนพื้นฐาน การเขียนเส้นร่างของบรรจุภัณฑ์ คำนึงการร่างแบบสมดุลเท่ากันทั้งสองข้างเป็นเกณฑ์
รูปร่าง เป็นการเน้นเส้นของบรรจุภัณฑ์ตามโครงร่างที่ได้ร่างไว้แล้ว ให้มีความเด่นชัด และชัดเจนยิ่งขึ้น
รายละเอียด การร่างแบบนอกจากแสดงรูปร่างของบรรจุภัณฑ์แล้ว ควรมีรายละเอียดอื่นประกอบ เช่น ภาพประกอบ ตราสัญลักษณ์ ข้อความหลัก เป็นต้น
แสงเงา สี เพื่อเน้นให้บรรจุภัณฑ์ตูมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น สี แสงเงา จะทำให้บรรจุภัณฑ์นั้นดูมีมิติ มีความมนโค้ง ความตื้นลึก หนาบาง
การเขียนแบบร่าง (sketch design) คือการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ที่ได้รับการกลั่น กรองในขั้นตอนร่างแบบมาแล้ว โดยการเขียนเป็นภาพหรือสัญลักษณ์ ตลอดจนรายละเอียดอื่นๆ ลงในกระดาษ เพื่อสื่อความหมายแสดงรูปหรือชื้นงานบรรจุภัณฑ์นั้น เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ดูแบบเข้าใจ การออกแบบร่างปกติแสดงออกมาในรูปภาพทัศนียภาพ ภาพคลี่ รูปด้านใช้สีเดียวหรือหลายสีก็ได้ สีเป็นส่วนหนึ่งในการดึงดูดสร้างความสนใจในแบบ สัดส่วนที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดจริง อาจใช้มาตราส่วนย่อ หรือขยายในแบบได้ตามความเหมาะสม
แบบร่างเป็นการนำเสนองานออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อพิจารณา ก่อนที่จะนำไปเขียนแบบเพื่อการผลิต งานแบบร่างต้องมีการกำหนดขนาดของชิ้นงานในเบื้องต้น ปกติจะกำหนดขนาด1 : 1 เพื่อดูสัดส่วนคร่าวๆของรูปแบบก่อน หากขนาดบรรจุภัณฑ์ไม่สัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ต้องแก้ไข การเขียนแบบร่างยึดหลักการคล้ายการเขียนแบบ แต่ไม่กำหนดแน่นอน รูปแบบของแบบร่างสามารถปรับเปลี่ยนได้ตำแหน่งต่างๆของภาพ สามารถจัดวางได้ตามความเหมาะสม
สามารถเลือกใช้ได้ตามความเมาะสมกับเนื้อหาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ดังนี้
2.1 แนวคิดในการออกแบบ (concept) คือ การเขียนคำอธิบายถึงแนวคิด ที่มา แรงบันดาลใจในการออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น ซึ่งแนวคิดได้มาจากข้อมูลเบื้องต้นต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการกลั่น กรองมาแล้ว ผสมผสานกับแนวคิดของตัวผู้ออกแบบอธิบายออกมาเป็นข้อความ
2.2 รูปด้าน ( elevation ) คือ การแสดงรูปด้านต่างๆของบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบ มีลักษณะการวางภาพเหมือนกับการเขียนแบบ รูปด้านทั่วไปประกอบด้วย รูปด้านหน้า ด้านข้าง ด้านบน เป็นต้น พร้อมกำหนดขนาดหน่วยวัด มาตราส่วน ระบุชื่อด้าน กรณีบรรจุภัณฑ์ออกแบบขึ้นรูปด้วยวัสดุชิ้นเดียว การเขียนรูปด้านให้ใช้การเขียนแบบภาพคลี่ เพื่อแสดงรูปด้านต่อเนื่อง
2.3 ภาพแสดงแนวคิดริเริ่มในการออกแบบ ( idea sketch ) เป็นการนำภาพร่างเริ่มแรก ที่ร่างแบบคร่าวๆรวบรวมไว้มาเขียนในแบบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นพัฒนาการของรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์ ภาพร่างนี้เขียนใหม่ให้เล็กหรือใหญ่กว่าเดิมก็ได้ วางแนวตั้ง แนวนอนได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ แต่ควรให้อยู่ในกลุ่ม พร้อมทั้งลงสี เขียนรายละเอียด ของทุกภาพให้สวยงาม
2.4 ภาพแสดงขบวนการผลิต ( detail process ) เป็นการนำเสนอแนวทางในการผลิตชิ้นงานแบบคร่าวๆ ตามข้อมูลที่ที่หามาผสมกับความคิดของผู้ออกแบบ โดยคำนึงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ว่าเหมาะสมกับขบวนการผลิตในลักษณะใดมากที่สุด ก่อนนำเสนอเพื่อตัดสินใจร่วมกับฝ่ายที่เกี่ยว ข้อง ภาพแสดงขบวนการผลิต จะต้องมีคำอธิบายประกอบภาพด้วยเสมอ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ควรแสดงขบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มจนเสร็จสิ้นเป็นบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งลงสี เขียนรายละเอียดต่างๆให้ชัด เจน
2.5 ทัศนียภาพ (perspective) เป็นภาพ 3 มิติ ที่แสดงรายละเอียดของรูปแบบบรรจุภัณฑ์ สื่อให้ผู้ดูแบบข้าใจได้ง่ายที่สุด การเขียนภาพทัศนียภาพสามารถใช้หลักการเขียนภาพ 3 มิติ ในการเขียนแบบ ภาพควรมีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านรูปร่างรูปทรง การตกแต่งลวดลาย ภาพประกอบสภาพ แวดล้อมการใช้งาน เป็นต้น ควรลงสี น้ำหนักแสงเงา ให้เหมือนจริง การจัดองค์ประ กอบภาพบรรจุภัณฑ์ให้โดดเด่น สะดุดตา และสวยงาม
การร่างแบบ เพื่อนำเสนอที่มา ขั้นตอนการทำงาน รวมถึงการพัฒนาแบบ
2.6 หัวข้องาน (title) ได้แก่ ข้อความที่บ่งบอกถึงลักษณะงานว่า คืองานอะไร เช่น แบบร่าง (sketch design) การเขียนแบบใช้งาน (working drawing) เป็นต้น หัวข้องานมีขนาดใหญ่พอสม ควร ไม่จำกัดลักษณะแบบตัวอักษร สามารถเขียนด้วยมือหรือใช้อักษรคอมพิวเตอร์ก็ได้ การจัดวางเรียงอักษรในแนวนอนหรือแนวดิ่งก็ได้ การใช้สีอิสระไม่จำกัด คำนึงความเหมาะสมและความสวย งาม
2.7 ภาพแสดงการใช้งาน(detail function) เป็นการเขียนภาพแสดงลักษณะการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ ตามที่ผู้ออกแบบคิดไว้ การเขียนภาพเน้นจุดหรือบริเวณที่ต้องการแสดงในลักษณะ 3 มิติ หรือการแสดงให้เห็นการติดตั้ง การประกอบชิ้นส่วนอื่นๆเข้ากับชิ้นงาน ด้านล่างของภาพประ กอบ ควรเขียนข้อความอธิบายประกอบเพื่อความเข้าใจ และควรลงสีประกอบให้สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจ
ที่กล่าวมาเป็นส่วนประกอบทั่วๆไป ของการออกแบบร่างที่ควรมี เพื่อให้แบบร่างมีความสมบูรณ์ ผู้ออกแบบสามารถเพิ่มเติมส่วนประกอบอื่นๆ เพื่อให้แบบร่างสมบูรณ์สูงสุด สิ่งสำคัญของการเขียนแบบร่างคือ องค์ประกอบโดยรวมการจัดวางองค์ประกอบ ผู้ออกแบบสามารถจัดวางตามหลักการจัดภาพ ลำดับแรกต้องกำหนดคร่าวๆไว้ก่อนว่า จะวางส่วนประกอบใดในส่วนไหนของกระ ดาษทั้งแผ่น จากนั้นร่างภาพโดยรวมทั้งหมดก่อน หากภาพทั้งหมดลงตัวแล้ว จึงเริ่มวาดรายละเอียดของภาพ นอกจากนี้ต้องคำนึงการใช้สีของแบบร่างทั้งหมด ไม่ควรใช้สีหลักเกิน 4 สี แต่สามารถใช้สีที่มีค่าน้ำหนักอ่อนแก่ได้ การลงสีในแบบร่างควรเน้นความสมจริงมากที่สุด
การลงสีประกอบแบบ เพื่อสื่อการกำหนดสีของ การร่างแบบ
ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
3.1 กำหนดส่วนประกอบต่างๆ จัดวางลงบนแผ่นกระดาษแบบคร่าวๆ
3.2 ร่างแบบทั้งหมดด้วยดินสอ หากมีข้อบกพร่องควรแก้ไขก่อน
3.3 หากไม่มีการแก้ไข สามารถลงสีรายละเอียดต่างๆได้ การลงสีควรใช้สีน้ำหนักอ่อนลงพื้นก่อน แล้วจึงใช้สีที่มีน้ำหนักเข้มกว่าลงทับ รวมทั้งพื้นหลังของภาพต่างๆประกอบ
3.4 การเขียนข้อความต่างๆ เช่น SKETCH DESIGN , ELEVATION , DETAIL PROCESS , DETAIL FUNCTION , CONCEPT ในส่วนของข้อความหากต้องการความสะดวกรวดเร็ว ควรใช้ปากกาเมจิกชนิดหัวใหญ่หรือหัวแบนใช้ในการเขียน จะสะดวกละรวดเร็ว ขนาดของข้อความควรมีเล็กใหญ่ตามความสำคัญ ช่วยให้ข้อความดูน่าสนใจมากขึ้น
3.5 ใช้ปากกาตัดเส้น เขียนเส้นบริเวณภาพต่างๆทุกส่วนให้เรียบร้อย โดยใช้เครื่องมือเขียนแบบช่วย เช่น บรรทัดสามเหลี่ยม บรรทัดโค้ง ควรตัดเส้นภาพภายหลังการลงสีแล้ว จะทำให้เส้นที่ตัดมีความคมชัดมากขึ้น
3.6 ให้รายละเอียดการตกแต่งต่างๆ เช่น ลวดลายการตกแต่ง
3.7 เขียนตัวเลขกำหนดขนาดในรูปด้านต่างๆ ข้อความอธิบาย แนวคิดในการออกแบบ หรืออื่นๆ ให้ครบถ้วน
3.8 เมื่อขั้นตอนการร่างแบบผ่านกระบวนการตัดสินใจแล้วในการกลั่นกรองแบบแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการเขียนแบบเพื่อการผลิตต่อไป
การร่างแบบ ภาพหน้าตัด และลักษณะภาพด้าน
การเขียนอธิบายรายละเอียดเป็นส่วนสำคัญ ในการสร้างความเชื่อถือแก่ผู้พบเห็นในการนำเสนองาน
4.1 ที่มาและวัตถุประสงค์ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น
4.2 อธิบายถึงลักษณะทั่วไปของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และส่วนประกอบต่างๆ
4.3 อธิบายถึงที่มาในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ว่า ได้แรงบันดาลใจจากอะไร หมายถึงอะไร
4.4 การออกแบบกล่าวถึงความหมาย องค์ประกอบแต่ละส่วน หมายถึงอะไร หลักการออกแบบที่ใช้ตัวแสดงถึงอะไรได้บ้าง โดยอ้างอิงทฤษฎีการออกแบบ ทฤษฎีสุนทรียะ
4.5 นำไปใช้ลักษณะใด ไม่ควรใช้ลักษณะใด
4.6 ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ของผู้ออกแบบและของหน่วยงาน สถาบัน บริษัทใด
ภาพคลี่บรรจุภัณฑ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์
การที่จะสามารถปฏิบัติงานเขียนแบบภาพคลี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้งานได้จริงนั้น ผู้เขียนจะต้องศึกษาเรียนรู้ถึงคุณสมบัติของเครื่องมือเขียนแบบเบื้องต้น เพื่อให้ทราบวิธีการใช้และการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง เรียนรู้ลักษณะของภาพคลี่รูปแบบต่างๆ และฝึกฝนการสร้างภาพคลี่ในงานเขียนแบบอย่างจริงจัง รวมถึงการทำความเข้าใจ การนำไปใช้ถ่ายทอดความคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพราะการถ่ายทอดความคิดมีวิธีการและกระบวนการ ที่นำไปสู่การแก้ปัญหาการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากนักศึกษามีความแม่นยำในการร่างแบบและเขียนแบบ ผลลัพธ์ของการเขียนแบบย่อมได้ผลที่ถูกต้อง
1. ให้นักศึกษาอธิบายลักษณะของวัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนแบบบรรจุภัณฑ์ มา 3 ชนิด พร้อมทั้งอธิบายกระบวนการใช้งานตลอดจน การบำรุงรักษาที่ถูกต้อง
2. ให้นักศึกษาอธิบายหลักการและวิธีการของการเขียนภาพแผ่นคลี่รูปทรงพื้นฐานในงานเขียนแบบแผ่นคลี่ มา 3 แบบ
3. ให้นักศึกษาเขียนแบบภาพแผ่นคลี่ แบบเส้นขนาน แบบเส้นรัศมี ตามที่กำหนด
4. ให้นักศึกษาเขียนแบบภาพร่าง( idea sketch ) บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปเรขาคณิต จำนวน 3 แบบ
5. ให้นักศึกษาเขียนแบบภาพร่าง(sketch design) บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนในท้อง ถิ่นมา 2 ประเภท พร้อมส่วนประกอบและรายละเอียดตามหลักการให้ครบถ้วนสมบูรณ์