หน่วยที่ 2
วัสดุบรรจุภัณฑ์

วัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์

การเลือกวัสดุและวิธีการบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์  ต้องอาศัยความรู้และข้อมูลตลอดจนปัจจัยต่างๆ เข้ามาพิจารณา  ซึ่งยังต้องพิจารณาว่ามีความคุ้มทุน หรือเป็นไปได้ในระบบการผลิตและจัดจำหน่ายมากน้อยเพียงใดหรือไม่อีกด้วย จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนของการกำหนดรูปทรงของบรรจุภัณฑ์อีกครั้งหนึ่งว่าบรรจุภัณฑ์ควรจะออกมาในรูปลักษณะอย่างไร

          ปัจจัยในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุและบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ สภาพทางการตลาดและข้อจำกัดต่างๆ  ธรรมชาติ และลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์  สภาพการลำเลียง ขนส่ง และการเก็บรักษา  วิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์ และการจัดหาวัสดุบรรจุภัณฑ์

วัสดุบรรจุภัณฑ์พื้นฐานในงานพัฒนาบรรจุภัณฑ์  แบ่งออกได้ 4 ประเภท คือวัสดุที่ได้จาก พืช วัสดุประเภทโลหะ วัสดุประเภทเครื่องเคลือบดินเผา รวมทั้งเครื่องแก้ว และวัสดุประเภทพลาสต

บรรจุภัณฑ์จากพืช

 

paste_image11.jpg

เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพืชไม่ว่าจะเป็นไม้ เยื่อไม้ กระดาษ หรือเส้นใยต่างๆ ในรูปของกระดาษ สิ่งทอ เช่น ผ้า หรือเครื่องจักสาน  สามารถพบเห็นบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ได้ตามท้องตลาดในชนบท ในรูปของบรรจุภัณฑ์อาหารท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ เช่น การนำใบตอง ใบเตย  มาทำภาชนะใส่ขนมหรืออาหารคาว  การนำกระบอกไม้ไผ่ทำข้าวหลาม การสานตะกร้า ชะลอม กระดาษสา ผ้าฝ้ายทอ เป็นต้น

ปัจจุบันมีวิธีการนำวัสดุจากพืชผัก แปรรูปเป็นแผ่นและรูปทรง ซึ่งบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้มีข้อดีคือสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้  วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากพืชเมื่อใช้แล้วสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ จึงไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

       เบื้องต้นวัสดุบรรจุภัณฑ์จากพืชนี้  ทำเพื่อห่อหุ้มปกป้องผลิตภัณฑ์ภายใน  ความงดงามด้านสีสันลวดลายพื้นผิวของบรรจุภัณฑ์ ล้วนเกิดจากวัสดุธรรมชาติเป็นหลัก 

สำหรับวัสดุไม้ ไม่ค่อยได้รับความนิยม ในการนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นใน ที่ต้องสัมผัสกับผลิตภัณฑ์โดยตรง  เนื่องจากมีความแข็งและน้ำหนักมาก  ดังนั้นส่วนใหญ่นิยมนำมาออกแบบเพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งมากกว่า

                paste_image8.jpgpaste_image10.jpg

จากข้อมูลของประเทศญี่ปุ่นพบว่า ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1979 ถึงปี ค.ศ. 1983 ปริมาณการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์  มีดังนี้ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุประเภทกระดาษ มีสูงถึง 44 - 45 เปอร์เซ็นต์ รองลง มาคือ พลาสติก 19 - 20 เปอร์เซ็นต์ โลหะประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ วัสดุจำพวกแก้ว 4 – 5 เปอร์เซ็นต์

เยื่อและกระดาษจัดได้ว่า เป็นวัสดุที่นิยมนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์มากที่สุด เพราะเป็นวัสดุที่มีคุณลักษณะเฉพาะของเนื้อวัสดุและสามารถพิมพ์สีสันได้สวยงาม น้ำหนักเบา สะดวกต่อการขนส่ง

โดยนิยมนำมาออกแบบเพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์ในการจัดจำหน่ายและเพื่อการขนส่ง เช่น กล่องขนมอบ เบเกอรี่ กล่องใส่ผักและผลไม้ กล่องสุราและเบียร์ เป็นต้น

บรรจุภัณฑ์กระดาษถือเป็นวัสดุทางบรรจุภัณฑ์ที่มีมาช้านานที่สุด มีราคาถูกที่สุด สะดวกในการใช้ทำบรรจุภัณฑ์และใช้กันอย่างแพร่หลาย  กระดาษเป็นวัสดุที่เกิดจากกระบวนการแปรรูปเยื่อไม้ เช่น ไม้ยูคาลิปตัส  ต้นสา เป็นต้น ลักษณะกระดาษบรรจุภัณฑ์นอกจากแบนราบธรรมดา  เทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้าสามารถสร้างสรรค์กระดาษให้ได้ลักษณะที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ได้แก่ กระดาษลูกฟูก กระดาษสื่อผสม เป็นต้น บรรจุภัณฑ์กระดาษนิยมใช้ในบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กและ บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง ข้อดีบรรจุภัณฑ์กระดาษ คือวัสดุกระดาษทำจากพืชธรรมชาติ ทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษมีราคาถูก เนื้อวัสดุมีน้ำหนักไม่มาก เมื่อนำมาใช้งาน จะได้บรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา พื้นผิวของวัสดุสามารถพิมพ์และตกแต่งได้ง่ายและสวยงาม  สามารถเคลือบหรือประกอบติดกับวัสดุชนิดอื่นได้ดี การแปรรูปเพื่อการออกแบบสามารถ สร้างสรรค์ได้สะดวก  ข้อเสียของบรรจุภัณฑ์ได้แก่ กระดาษเป็นวัสดุที่มีความคงทนน้อยฉีกขาดได้ง่าย เนื้อกระดาษมีคุณสมบัติดูดความชื้นได้ง่าย สภาพความชื้นและอากาศซึมผ่านบรรจุภัณฑ์สัมผัสผลิตภัณฑ์ภายในได้ง่าย มีข้อจำกัดการใช้ ไม่เหมาะสมกับในการเป็นบรรจุภัณฑ์สินค้าแปรรูปชนิดเหลว

ชนิดของกระดาษที่ผลิตในระบบรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

ชนิดของกระดาษที่ผลิตในระบบรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ใช้กับงานสิ่งพิมพ์โรงพิมพ์ และตามร้านเครื่องเขียน แบ่งออกได้ ดังนี้

1. กระดาษธรรมดา  แบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้

1.1 กระดาษทิชชู่

1.2 กระดาษบรีเชส หรือ กระดาษเนเธอรัลลามิเนตติ้ง

1.3 กระดาษเบลช หรือ กระดาษเนเธอรัลพริ้นติ้ง

1.4 กระดาษพรั๊ช

1.5 กระดาษเกรซพรู๊ฟ

1.6 กระดาษคราสซิ่ง

1.7 กระดาษพราชเม้นท์

2. กระดาษแข็ง  แบ่งตามคุณลักษณะของกระดาษ ได้ดังนี้

2.1 กระดาษชิพบอร์ด

     2.2 กระดาษโซลิดมานิลาบอร์ด

     2.3 กระดาษคราฟท์ไซลินเดอร์บอร์ด

     2.4 กระดาษคราฟท์ฟอร์ไดรเนอร์บอร์ด

     2.5 กระดาษปอนด์ หมายถึง กระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีฟอกฟอกขาว หรือทำจากเยื่ออื่นใดที่มีคุณสมบัติทางกายภาพของกระดาษเท่าเทียมกัน

2.5.1 กระดาษปอนด์สำหรับพิมพ์ หมายถึง กระดาษปอนด์ที่ทำขึ้น เพื่อใช้พิมพ์ด้วยระบบเลตเตอร์เพรส

2.5.2 กระดาษปอนด์สำหรับการพิมพ์ออฟเซต หมายถึง กระดาษที่ทำขึ้นเพื่อให้เหมาะกับการพิมพ์ระบบออฟเซต

2.5.3 กระดาษปอนด์สำหรับเขียน

2.5.4 กระดาษปอนด์สำหรับอัดสำเนา

2.5.5 กระดาษปอนด์สำหรับพิมพ์และเขียน

2.5.6 นอกจากนี้ยังมีกระดาษปอนด์ลักษณะอื่นๆ ได้แก่ กระดาษแอร์เมล์  กระดาษโปสเตอร์หรือกระดาษเอ็มจี  กระดาษอาร์ต  กระดาษวาดเขียน กระดาษปก เป็นต้น

3. กระดาษลูกฟูก แบ่งตามลักษณะของลอนลูกฟูก ออกได้เป็น 4 ชนิด  ดังนี้

3.1  กระดาษลูกฟูกสองชั้นหรือกระดาษลูกฟูกหนึ่งหน้า

3.2  กล่องกระดาษลูกฟูกสามชั้นหรือกระดาษลูกฟูกสองหน้า ( 1ชุด  )

3.3  กล่องกระดาษลูกฟูกห้าชั้น ( 2 ชุด )

3.4  กล่องกระดาษลูกฟูกเจ็ดชั้น ( 3 ชุด )

  

4. กระดาษการ์ด แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ กระดาษการ์ดมานิลา และกระดาษการ์ดไอวอรี่ 

paste_image12.jpg 5. กระดาษสา  เป็นกระดาษที่ทำจากวัสดุที่ได้จากพืช ในท้องถิ่นภาคเหนือตอนบนที่เรียกว่า ปอสาหรือปอกระสา เป็นพืชที่ให้เส้นใยจากเปลือกของลำต้น เป็นพืชชนิดไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-15 เมตรในช่วงอายุ 7-8  ปี  สำหรับประเทศไทยพบมากในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางในบางจังหวัด แหล่งผลิตเปลือกปอสาที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ จังหวัดแพร่ น่าน สุโขทัย เชียงใหม่  เชียงราย ลำปาง พะเยา ลำพูน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตาก อุทัยธานี และเลย

      คุณสมบัติพิเศษของกระดาษสา เกิดมาจากวัตถุดิบปอสา ซึ่งเป็นพืชที่มีเยื่อเป็นเส้นใยยาว  มีความเหนียวมาก นำมาแปรสภาพโดยการทุบตีเยื่อไม้ เพื่อนำมาทำเป็นกระดาษ ทำเชือก หรือใช้เป็น เยื่อผสมปูนขาว ปูนปลาสเตอร์ในการหล่อผลิตภัณฑ์ โดยช่วยเสริมความแข็งแรงคงทนให้แก่ตัวผลิต ภัณฑ์นั้นๆ  สำหรับตัวกระดาษสาแปรสภาพ มาจากการทุบเยื่อไม้ให้กระจายออก และยังคงรักษาเนื้อ กาวในตัวเส้นเยื่อ  เพื่อรักษาคุณภาพของเยื่อกระดาษ เป็นเส้นใยเกาะประสานกันอย่างเหนียวแน่น มีความนุ่มทนทานเก็บไว้ได้นานนับร้อยปี โดยไม่มีการผุกร่อนแตกหักหรือแห้งกรอบ เนื้อกระดาษสาไม่มีการผสมพวกแป้งหรือดินขาว แมลงจึงไม่ชอบกัดแทะ ถือเป็นคุณสมบัติเด่นของกระดาษสา

      การพัฒนากระดาษสาแปรรูปทำบรรจุภัณฑ์  จึงควรเข้าใจกับคุณสมบัติพิเศษของวัตถุดิบปอสาและกระดาษสา เพื่อหยิบเอาความดีเด่นมาใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการ ในด้านสิ่งแวดล้อมเศษกระดาษสาที่เหลือจากการทำผลิต สามารถนำมาหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยนำไปแช่น้ำและ ตีเยื่อทำเป็นกระดาษสาแผ่นใหม่ได้ 

      กระดาษสาเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมือง ซึ่งนิยมทำเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวทางภาคเหนือของประเทศไทย มาเป็นเวลากว่าร้อยปีแล้ว สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน  ในอดีตกระดาษสาตอบสนองประโยชน์ใช้สอย สำหรับทำกระดาษจดบันทึกตำรายาโบราณ เขียนคัมภีร์พุทธศาสนา วาดภาพ ทำกระดาษเช็ดมือ กระดาษห่อของ ทำสายชนวน พลุไฟ ทำร่ม พัด  หัว โขน ถุง กระดาษแบบเสื้อ หรือทำโคมไฟ ในเทศกาลที่สำคัญ เป็นต้น  

paste_image13.jpg

ลักษณะของกระดาษสา ลักษณะของกระดาษสาที่มีการผลิต และจำหน่ายในปัจจุบันแบ่ง ได้ดังนี้

       1. กระดาษสาธรรมชาติ  มีสีขาวตุ่นหรือน้ำตาลคล้ำ  ค่อนข้างดำเพราะไม่ได้ฟอกสี เนื้อกระ ดาษไม่ค่อยสม่ำเสมอ เพราะทำด้วยมือ 

       2. กระดาษสาฟอกขาว เป็นกระดาษสาที่มีการพัฒนาให้คุณภาพดีกว่าเดิม เนื้อบางสม่ำเสมอ เหนียว มีสีขาว เหมาะสำหรับนำไปทำผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์

       3. กระดาษสาย้อมสี  เป็นการปรับปรุงวิธีการทำกระดาษสาให้มีสีสันต่างๆ ในขั้นตอนการผลิตจะได้กระดาษสาสีต่างๆ ที่มีพื้นผิวสลับลายสวยงาม อีกวิธีหนึ่งคือตกแต่งสี ลวดลายหลังกระบวน การผลิต วิธีการทำลวดลายและสีบนกระดาษสา 

1 ) การพิมพ์ มี 2 วิธี คือวิธีแรกคือ การพิมพ์ด้วยบล็อกไม้ (wood - cut) หรือผลไม้แกะ สลัก วิธีที่สองการพิมพ์ซิลค์สกรีน เป็นการพิมพ์ลวดลายบนกระดาษสาโดยใช้วิธีเดียวกับการพิมพ์ผ้า

2 ) การระบายสี เป็นการเขียนลวดลายโดยการใช้พู่กันระบายด้วยสีต่างๆ

3 ) การเขียนลวดลาย เป็นการเขียนลวดลายโดยใช้ดินสอหมึก หรือปากกาเขียนลาย เส้นอิสระเป็นลวดลายต่างๆ

4 ) การทำลวดลายบาติก (batik)โดยการเขียนลวดลายด้วยขี้ผึ้งผสมกับพาราฟิน แล้วนำไปย้อมสี  บริเวณที่เป็นลวดลายขี้ผึ้งจะไม่ติดสี  แต่จะมีสีซึมแทรกไปตามรอยแตกของเทียนเรียกกันว่า "แคร็ก"  (crack)  เมื่อสีแห้งแล้วจึงลอกเอาเทียนออกโดยใช้เตารีดรีดผ่านหนังสือพิมพ์

5 ) การพับจีบ (patch ) โดยนำเอากระดาษสาย้อมสีต่างๆ มาตัดหรือจับจีบเป็นรูปทรงเรขาคณิตแล้วนำไปติดบนกระดาษสา สีฟื้นซ้ำๆ ได้ลวดลายกระดาษสาจังหวะซ้ายขวาที่สม่ำเสมอ

6 ) การตัดปะหรือคอลลาจ ( applique หรือ collage ) ทำลวดลายบนกระดาษสาด้วยวิธีตัดปะวิธีการคือนำเอากระดาษสาสีต่างๆมาฉีก หรือตัดเป็นลวดลายต่างๆ ตามใจชอบ แล้วปะบนกระ ดาษสาสีพื้น สามารถสร้างลวดลายต่างๆ ได้ตามจินตนาการ

7 ) การมัดย้อม (tie-dye)โดยการนำเอากระดาษสา มาพับจีบหรือม้วน และผูกด้วยเชือกฟางหรือหนีบด้วยลวดหนีบกระดาษ (clip)  แล้วใช้สีย้อมหยดลงบนกระดาษสานั้น บริเวณที่ผูกหรือหนีบไว้ทิ้งให้สีแห้ง แล้วแกะวัสดุที่มัดออกจะได้ลวดลายสลับสีบนเนื้อกระดาษสา

8 ) การทำพิมพ์ฉลุ (stencil) เป็นการนำเอาลวดลายฉลุ มาวางบนกระดาษสาสีพื้น แล้วพ่นด้วยสีสเปรย์  หรือใช้ใบไม้ กิ่งไม้ หรือวัสดุอื่นๆวางบนกระดาษสา  แล้วพ่นด้วยสีสลับไปมาจะได้ลวดลายที่แปลกตาตามต้องการ

9 ) การทำลายหินอ่อน (marbling) เป็นการใช้สีน้ำมันหยดลงบนผิวน้ำ แล้วเกลี่ยให้เกิดลวดลายผสมกัน แล้วใช้กระดาษสาวางทาบลงไป  สีน้ำมันจะติดลงในกระดาษสา จะได้ลวดลายหินอ่อนตามต้องการ

ยังมีวิธีการทำลวดลายและสีอีกมากมาย ที่สามารถนำมาดัดแปลง ใช้สำหรับงานสร้างสรรค์ บนกระดาษสาเพื่อบรรจุภัณฑ์  เป็นการนำเอากระดาษสา ซึ่งเป็นทรัพยากรท้องถิ่นที่มีในประ เทศมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

           paste_image14.jpg        

ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษ 

การแปรรูปวัสดุประเภทกระดาษเป็นบรรจุภัณฑ์ สามารถทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้

       1. กล่อง ได้แก่ กล่องกระดาษแข็งแบบพับ และกล่องกระดาษแข็งแบบตายตัว

16.JPG 19.jpg

       

       2. ถุงและซอง เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กันมาก สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องอุปโภค บริโภค จัดเป็น บรรจุภัณฑ์เฉพาะตัวสำหรับผลิตภัณฑ์หน่วยเดียวอีกแบบหนึ่ง วัสดุที่ใช้ทำถุงหรือซองกระดาษ  ส่วนใหญ่นิยมใช้กระดาษคราฟท์ ( kraft ) นอกจากนี้ถุงหรือซองกระดาษยังสามารถใช้เป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ประเภทสิ่งพิมพ์  โฆษณาเคลื่อนที่แสดงเอกลักษณ์ ชื่อผลิตภัณฑ์หรือผู้ผลิตได้ดีอีกด้วย

     

paste_image16.jpg    paste_image17.jpg

23.jpg

           ถุง ( BAG )หมายถึงบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุอ่อนตัว เช่น กระดาษ และเปิด-ปิดได้ด้านเดียว มี 4 รูปแบบ คือ

        1) ถุงแบบขยายข้าง ( automatic  bottom  หรือ  self – opening ) ก้นถุงเป็นรูปสี่เหลี่ยม  เมื่อกางถุงสามารถวางตั้งตรงได้มีการพับความกว้างของด้านข้าง สามารถพับเก็บและขยายออกเป็นรูปทรงกระบอกหรือสี่เหลี่ยม ใช้สำหรับบรรจุของชำทั่วไป

2) ถุงแบบสแควร์บอททอม ( square  bottom หรือ pinch  bottom ) มีลักษณะเก็บความกว้างด้านข้างคล้ายถุงแบบที่1 ก้นถุงพับเป็นตะเข็บแนวตรง                     

3) ถุงแบบแฟลทแบค ( flat  bag ) ก้นถุงพับเป็นตะเข็บแนวตรง

      4) ถุงแบบแซทเชล ( satchel  bottom ) ก้นถุงคล้ายแบบที่1 แต่ไม่เก็บความกว้างด้านข้าง  ถ้าเป็นถุงที่มีขนาดใหญ่ ที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 50 ปอนด์ขึ้นไป เรียกว่า กระสอบ( Sack )

      ซอง ( envelope) มีขนาดเล็กกว่าถุงและกระสอบ เป็นกระดาษที่ตัดพับสำเร็จรูป มีลักษณะแบนราบมีหลายขนาด เช่น ซองสั้น ซองยาว ซองเอกสาร เป็นต้น

รูปแบบซอง แบ่งได้ 4 แบบ ดังนี้

       1) แบบออโตเมติคบอททอม (automatic  bottom or  self-opening) ก้นถุงมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม เมื่อกางถุงออกสามารถวางตั้งตรงได้ เพราะมีการพับความกว้างของด้านข้างที่สามารถพับเก็บและขยายออก เป็นรูปทรงกระบอกหรือสี่เหลี่ยมได้  เรียกโดยทั่วไปว่าถุงแบบขยายข้าง  ปกติใช้ใส่ของชำทั่วไป

       2) แบบสแควร์บอททอม ( square  bottom or pinch  bottom ) มีลักษณะการพับความกว้างของด้านข้าง ก้นถุงพับเป็นตะเข็บแนวตรง

       3) แบบแฟลทแบค ( flat  bag ) เป็นถุงแบบแบน  เนื่องจากก้นถุงพับเป็นตะเข็บแนวตรง แบบแซทเชลบอททอม ไม่มีลักษณะการพับความกว้างของด้านข้าง

              ดังนั้นการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์จากกระดาษสามารถทำได้หลายรูปแบบ  ซึ่งขึ้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดของกรรมวิธีการผลิต

25.jpg

บรรจุภัณฑ์ทำจากโลหะ

 paste_image26.jpg           

โลหะเป็นแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก เป็นวัสดุสำคัญทำให้เกิดอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารกระป๋องมีคุณสมบัติเป็นตัวกั้นและทนความร้อน  จึงฆ่าเชื้อได้และพิมพ์ได้ดี  สามารถนำกระป๋องไปหลอม เพื่อทำอุปกรณ์ต่างๆได้ ส่วนกระป๋องอะลูมิเนียมเพิ่งจะมีในภายหลังและใช้บรรจุเครื่องดื่มและ ขนมขบเคี้ยวอย่างแพร่หลาย  อะลูมิเนียมผลิตจากแร่บอกไซด์ อะลูมิเนียม 1 กิโลกรัมใช้แร่บอกไซด์  4-5  กิโลกรัม  การนำกระป๋องอะลูมิเนียมที่ใช้แล้วไปหลอมและผลิตเป็นกระป๋องใหม่ จะประ หยัดพลังงานได้ร้อยละ 95  หรือพลังงานที่ใช้ผลิตอะลูมิเนียมทำกระป๋อง 1 ใบ จะเท่ากับพลังงานที่ใช้หลอมกระป๋องใช้แล้ว 20 ใบ

โลหะเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติแข็งแรงทนทาน การเคลือบผิวภายนอกสามารถช่วยลดการสึกกร่อน มักมีจุดอ่อนตรงรอยต่อหรือฝา ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นในด้านความแข็งแรง เพราะสามารถเคลือบผิวเพื่อไม่ให้เกิดความสึกกร่อน ป้องกันน้ำ และก๊าซไม่ให้ซึมผ่านได้  การใช้โลหะเพื่อบรรจุอาหารต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากอาจมีสารปนเปื้อนจากโลหะหนัก ในระดับที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้  บรรจุภัณฑ์โลหะเป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต เบียร์ เครื่องดื่ม อาหารกระ ป๋อง สีและสเปรย์ และอื่นๆ

     การผลิตกระป๋องโลหะ สามารถทำได้โดยการนำเหล็กดำมารีดให้เป็นแผ่นบางๆ แล้วเคลือบด้วยดีบุกและแลกเกอร์เป็นชั้นบางๆ เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยา ระหว่างกระป๋องโลหะและออกซิเจน ซึ่งจะมีผลทำให้กระป๋องโลหะเป็นสนิม ข้อดีของบรรจุภัณฑ์โลหะคือ มีความทนทานแข็งแรงไม่มีการซึมผ่านของไอน้ำและอากาศ ป้องกันแสงสว่างได้ดี ข้อเสียของบรรจุภัณฑ์โลหะ คือเกิดการกัดกร่อนได้ง่าย ทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นกรดด่าง มีโอกาสที่ดีบุกและแลกเกอร์ที่ใช้เคลือบกระป๋องโลหะ  สามารถหลุดลงไปปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์อาหารได้ 

รูปแบบบรรจุภัณฑ์โลหะ

รูปแบบบรรจุภัณฑ์โลหะ แบบต่างๆ มีดังนี้

         1. กระป๋อง (can) มีหลายรูปแบบ เช่น ทรงกระบอก รูปเหลี่ยม รูปไข่ เป็นต้นใช้บรรจุ ยา อาหาร น้ำมันหล่อลื่น และเครื่องใช้อื่นๆ      

         2.  ถัง (drum pail  KEG) มีความจุและขนาดใหญ่กว่ากระป๋องมากใช้บรรจุสารเคมี  น้ำมันหล่อลื่นและอื่นๆ

3. เออโรโซล (aereosols or pressurized containers) ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ที่เป็นของ เหลวและมีสารที่ใช้ขับ  ซึ่งเป็นของเหลวและก๊าซผสมอยู่ เช่น ยาฆ่าแมลง เครื่องสำอาง ยาบางชนิด

         4. คอลลับซิเบิ้ลทับส์ (collapsible tubes) ใช้บรรจุสินค้าชนิดหนืด เช่น  อาหาร ยาเครื่องสำอาง กาว เป็นต้น

5. อลูมิเนียมแผ่นเปลว (Aluminum foil) ใช้ห่อทำซองหรือทำเป็นรูปร่างต่างๆ  เพื่อบรรจุอาหาร ยา และอื่นๆ

     กระป๋องและปี๊บทำจากโลหะ โดยมากเป็นแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก กระป๋องใช้ในการผลิตอาหารสำเร็จรูป ซึ่งต้องเก็บรักษาคุณภาพภายในภาชนะที่ปิดสนิท   นิยมใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์ผัก และผลไม้  ส่วนกระป๋องอีกชนิดหนึ่งเป็นกระป๋อง 2 ชั้น ผลิตจากอะลูมิเนียมใช้บรรจุเครื่องดื่ม ประเภทน้ำอัดลม น้ำผลไม้  ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง กระป๋องอะลูมิเนียมสามารถนำมาหลอมและแปรรูป เพื่อนกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก

 

บรรจุภัณฑ์แก้ว 

     วัสดุแก้ว(glass) เชื่อว่ามีการค้นพบและใช้มาประมาณ 7000 ปีก่อนคริสตกาล  แก้วผลิตจากการหลอมเหลววัสดุ ดังนี้ หินปูน(limestone) ประมาณ10 เปอร์เซนต์ โซดา(Soda) ประมาณ15 เปอร์เซ็นต์ ซิลิก้า(silica)ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ และอื่นๆ เช่น อลูมิเนียม โปแตสเซี่ยม แมกนีเซียมออกไซด์ นำไปหลอมละลายด้วยความร้อนในอุณหภูมิสูงประมาณ 2,800 องศาฟาเรนไฮน์ แล้วนำไปเป่าขึ้นรูปตามแบบเป็นภาชนะบรรจุรูปแบบต่างๆตามต้องการ เช่น ขวด แก้วน้ำ คณโท จาน ชาม เป็นต้น

                     แก้วมีคุณสมบัติทางกายภาพใสสะอาดและปลอดภัย ทนความร้อนได้สูง มีอายุการใช้งาน นาน แต่มีน้ำหนักมากและแตกได้ง่าย เมื่อเลิกใช้แล้วสามารถนำไปทำความสะอาด แล้วนำกลับมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ได้  หรือนำขวดแก้วที่แตกหักชำรุด ไปบดเป็นเศษแก้วกลับสู่ขบวน การหลอมแก้วผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ  หมุนเวียนผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ต่อไปได้อีก เศษแก้วช่วยประหยัดพลัง งานในการหลอมวัตถุดิบได้ร้อยละ25-32  ผู้ผลิตแก้วในประเทศซื้อเศษแก้วใช้เป็นวัตถุดิบวันละกว่า 1 ล้านบาท 

                    ขวดแก้วโหลแก้วมีใช้ตั้งแต่โบราณ ปัจจุบันก็ยังนิยมใช้แก้วเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่ม เพราะถือว่าแก้วเป็นวัสดุเฉื่อย(inert) ที่ไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีกับอาหาร ที่บรรจุและช่วยให้มองเห็นอาหารได้ชัดเจนกว่าวัสดุชนิดอื่น

                     สีของแก้วที่นิยมผลิตมี 3 สี คือ สีใสเป็นสีทีใช้กันมากที่สุด สีอำพัน( สีน้ำตาล ) มีคุณสม บัติในการกรองรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้ดี จึงนิยมใช้เป็นขวดเบียร์และขวดยาบางประเภท สีเขียวมีคุณ สมบัติคล้ายขวดสีอำพัน มักใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

ประเภทของแก้ว

ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 501-2527 แบ่งภาชนะ แก้วออกเป็น 4 ประเภท 

                       1.2 แก้วบอโรซิลิเกต เป็นแก้วที่มีความทนทานสูง โดยทั่วไปใช้ทำภาชนะบรรจุยาสำหรับฉีด  

                       1.2. แก้วโซดาไลม์ ใช้ทำภาชนะบรรจุยาสำหรับฉีด ที่มีความเป็นกรดหรือเป็นกลาง

                       1.3. แก้วโซดาไลม์ ที่ใช้ทำภาชนะบรรจุยาที่ใช้รับประทาน หรือยาที่ใช้ภายนอกเฉพาะที่

 

 

 

ส่วนประกอบของขวดแก้ว ประกอบด้วยสามส่วน คือ ปาก ลำตัว และก้นขวด ปากขวดมีความสัมพันธ์กับการเลือกฝา สอดคล้องกับวิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์ลงในขวด และวิธีนำผลิต ภัณฑ์ออกมาใช้

        

ปากและฝาขวดที่นิยมใช้กัน มีดังนี้

                  1. ปากฝาจีบ เช่น ขวดเบียร์  ขวดน้ำอัดลม

                  2. ปากเกลียวธรรมดา เช่น ขวดยา และขวดอาหารบางชนิด

                  3. ปากเกลียวพิเศษ เช่น ขวดยา ขวดน้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มบำรุงกำลัง

                  4. ปากเกลียวล๊อค เช่น ขวดแยม ขวดอาหารที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อ

                  5. ปากคอร์ก เช่น ขวดยาฉีด ขวดน้ำเกลือ ขวดซอสมะเขือเทศ บางยี่ห้อ

31.jpg 32.jpg 33.jpg

บรรจุภัณฑ์จากแก้วเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีมาช้านาน และเป็นที่นิยมมากก่อนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติก ข้อมูลด้านคุณสมบัติของวัสดุสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งที่ควรรู้ เพราะอย่างน้อยๆ จะทำให้เลือกใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ข้อดีแก้วไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมี  ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นหรือรสชาติของอาหารเปลี่ยนไป เหมือนอย่างบรรจุภัณฑ์บางชนิดเช่นพลาสติก เหมาะสำหรับการเก็บอาหารเป็นเวลานาน เพราะสามารถป้องกันการซึมผ่านของ ความชื้น และอากาศได้ดีมาก สามารถเก็บสารที่มีระเหยไว้ได้อย่างดี มีความโปร่งใส ทำให้มองเห็นผลิตภัณฑ์ภายใน สร้างความรู้สึกต่อผู้บริโภคว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีและมีราคาแพง บรรจุภัณฑ์แก้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อถูกแรงกระแทกในระหว่างการขนส่งและขนถ่ายสินค้า ส่วนข้อเสียบรรจุภัณฑ์จากแก้ว คือ แก้วถูกหลอมด้วยความร้อนและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มีความคงทนต่อความร้อนสูง ทำให้สามารถใช้กับกระบวนการบรรจุที่ผลิตภัณฑ์มีอุณหภูมิสูง มีน้ำหนักมาก ถ้าถูกแรงกระแทกมากๆจะแตก และอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้  ไม่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ประเภทมีปฏิกิริยากับแสง ในการผลิตขวดแก้วใช้อุณหภูมิสูง ซึ่งมีผลต่อราคาของบรรจุภัณฑ์แก้วสูงขึ้น

 

บรรจุภัณฑ์พลาสติก

เป็นวัสดุอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยม ในการนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ สำหรับบรรจุอาหารอย่างมาก เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ ได้แก่ สามารถดัดแปลงให้มีคุณสมบัติต่างๆ ให้เหมาะ สมกับการใช้งาน มีน้ำหนักเบา สามารถ

 

ประเภทของพลาสติกจำแนกตามคุณสมบัติ และลักษณะการนำไปใช้

ขึ้นรูปทรงได้ง่าย มีคุณสมบัติในการป้องกันการซึมผ่านของอากาศ น้ำ หรือไขมันทนต่อความร้อนเย็นทนต่อกรดด่าง มีความแข็งแรงเหนียวไม่นำไฟฟ้า การเลือก  ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติก ควรระมัดระวัง ปัญหาที่พบ คือการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน ทำให้มีสารเคมีเจือปนมากับพลาสติกจะละลายออกมาปนเปื้อนกับอาหาร หากร่างกายได้รับบ่อย ๆ จะเกิดการสะสม ก่อให้เกิดเป็นพิษเรื้อรังและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริ โภค

paste_image2.jpg

พลาสติกจัดเป็นสารโพลีเมอร์  เกิดจากการนำโมโนเมอร์  มาผ่านกระบวนการเชื่อมต่อให้เป็นโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้น  มีพลาสติกให้เลือกใช้ได้หลายชนิดและในรูปแบบต่างๆกัน เช่น ถุงพลาส ติกชั้นเดียว ซึ่งมีทั้งถุงร้อนและถุงเย็น ถุงพลาสติกหลายชั้นที่ได้จากการประกบหรือการรีดร่วม บางกรณีมีการใช้พลาสติกกับของบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปเป็นขวด กล่อง ถ้วย ที่ใส่น้ำมันพืช น้ำผลไม้ บะหมี่ สำเร็จรูป เป็นต้น  แม้ว่าถุงพลาสติกจะมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ คือ มีน้ำหนักเบากว่าภาชนะบรร จุชนิดอื่น เช่น แก้ว กระป๋อง ราคาก็ไม่แพงและสะดวกในการใช้งาน

       พลาสติกผลิตได้จากวัสดุหลายชนิด  เช่น ผลิตผลทางการเกษตร ได้แก่ เซลลูโลสจากพืช   ปิโตรเลียม ถ่านหิน และสินแร่ ส่วนมากใช้ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม 

       ปัจจุบันไทยผลิตพลาสติกได้ เช่น พลาสติกประเภทพีอี(PE) พีพี ( PP)  พีวีซี (PVC)  และพีเอส (PS ) เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมัน นับว่าพลาสติกมีบทบาทความสำคัญในชีวิตประจำวัน  เป็นวัสดุที่เข้ามาแทนที่บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยไม้ กระดาษและวัสดุอื่นๆ เนื่องจากมีความเหนียว น้ำหนักเบา ทนทานต่อสารเคมี  ทนต่ออุณหภูมิในช่วงกว้าง เป็นตัวกั้นความชื้นและก๊าซ ในไทยนั้นอาจนำพลาสติกประเภทพีอี(PE) พีพี (PP) พีวีซี (PVC)แปรรูปทำ ชาม ถัง ไม้เทียม ถุงขยะ ส้นรองเท้า

        บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่ ในวงการอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติก  เป็นผลผลิตจากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม มีราคาถูกและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย บรรจุภัณฑ

                           paste_image34.jpg

ประเภทของพลาสติกจำแนกตามคุณสมบัติ และลักษณะการนำไปใช้

      1.1 พลาสติกเพท (PET ) เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติโปร่งใส แข็งแรงทนทานป้องกันการซึมผ่านของอากาศได้ดี ทนความร้อนได้ดี  การใช้งานบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ขวดน้ำและเครื่องดื่ม ขวดน้ำ ยาล้างปาก ขวดน้ำสลัด

      1.2 พลาสติกเอชดีพีอี ( HDPE ) คุณสมบัติมีความเหนียวแข็งแรง ป้องกันการซึมผ่านของน้ำและความชื้นได้ดี ต้านทานการกัดกร่อนของสารเคมีได้ดี ใช้งานเป็นภาชนะใส่นม น้ำส้ม น้ำและภาชนะใส่น้ำยาซักผ้า

     1.3 พลาสติกพีวีซี ( PVC ) คุณสมบัติ แข็งแรง เหนียวและทนทาน มีความต้าน ทานต่อไขมันได้ดี การใช้งานเป็นภาชนะที่ต้องการความใสเป็นพิเศษ เช่น น้ำมันพืช และซอสต่างๆ

    1.4 พลาสติกแอลดีพีอี ( LDPE ) คุณสมบัติเหนียวและมีความยืดหยุ่นสูง ป้องกันการซึมผ่านของความชื้นได้ดี ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ถุงใส่ขนมปัง อาหารแช่แข็ง ใช้เป็นวัสดุในการปิดผนึกบรรจุภัณฑ์ด้วยความร้อนได้ดี

     1.5  พลาสติกพีพี ( PP ) คุณสมบัติด้านความแข็งแรงและทนทาน ทนต่อความร้อนและสารเคมี  ป้องกันการซึมผ่านของความชื้นได้ดี ใช้เป็นขวดซอสมะเขือเทศ ถ้วยไอศกรีม เป็นต้น

               

1.6 พลาสติกพีเอส (PS)  คุณสมบัติมีความใสและสามารถทำบรรจุภัณฑ์ที่เป็นโฟมได้ การประยุกต์ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์โฟมใส่อาหาร ถ้วยนมเปรี้ยว

การใช้งานวัสดุพลาสติก

            2.1ฟิล์มพลาสติก ทำมาจากฟิล์มชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ของการใช้งาน เช่น ใช้ห่อสินค้า เช่น ลูกกวาด ท๊อฟฟี่ ขนมปัง  

            2.2 ฟิล์มหด จากการใช้ความร้อน เช่น การทำฉลากสินค้า ฟิล์มที่ใช้คือพีวีซี(PVC)  แอลดีพีอี(LDPE)  แอลแอลดีพีอี(LLDPE)  เพราะมีคุณสมบัติในการติดผนึกและหดตัวได้ดีเมื่อถูกความร้อน  

            2.3 ฟิล์มยืด เป็นฟิล์มที่ยืดได้เล็กน้อยเมื่อถูกดึงให้ยืดออก ใช้ในการรัดกล่องกระดาษ ลูก ฟูกหรือสิ่งของที่วางอยู่บนแผ่นไม้ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งที่เรียกว่าพาลเลต(pallet) ให้ยึดติดกันแน่นไม่ให้หล่นในระหว่างการขนส่ง ฟิล์มที่ใช้คือพีเอส (PS)   

            2.4 ฟิล์มหลายชั้น ได้จากการนำฟิล์มชั้นเดียวมาติดกันโดยใช้ความร้อน และสามารถขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์รูปแบบต่างๆ เช่น ถุงกาแฟ ขนมขบเคี้ยวต่างๆ ฟิล์มหลายชั้น ยังสา

มารถทำได้จากการเป่าฟิล์มมากกว่าหนึ่งชนิดพร้อมๆกัน ทำให้สามารถเพิ่มค่าคุณสมบัติทางกายภาพทางความร้อน และการป้องกันการซึมผ่านของความชื้นและอากาศได้ดียิ่งขึ้น

การขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ภาชนะพลาสติก

มีกรรมวิธี ดังนี้ คือการเป่าขวด การฉีดขึ้นรูป และการอัดหลอมเม็ดพลาสติกจากความร้อน

รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก 

แบ่งตามลักษณะได้ดังนี้ คือ ถุงหรือกระสอบพลาสติก ขวดพลาสติก หลอดพลาสติก ถังพลาสติก ชริงค์แพกเกจบลิสเตอร์แพกเกจโฟมพลาสติก  แอร์แคป

        

 

สรุป

                นวัตกรรมที่ก้าวหน้ามีส่วนสำคัญ ให้การใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์มีคุณลักษณะที่ตรงกับวัตถุประ สงค์ การใช้งาน บรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุพืชผักประเภทกระดาษ รูปแบบเป็นกล่อง ถุงหรือซอง นิยมใช้ทำบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง  บรรจุภัณฑ์พลาสติกนิยมใช้อย่างกว้างขวาง แต่มีข้อควรระวัง  เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลังการใช้งานเป็นขยะที่ก่อมลภาวะ  ส่วนบรรจุภัณฑ์โลหะมีข้อจำกัดในเรื่องของน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ แต่ทดแทนด้วยส่วนดีในด้านความคงทนแข็งแรง  และบรรจุภัณฑ์แก้วที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว  มีจุดเด่นตรงไม่เกิดสารปน เปื้อน ในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อาหาร 

 

ทบทวนบทเรียน

  

2. ให้นักศึกษาดูภาพด้านซ้ายมือและเลือกคำตอบที่ถูกต้อง โดยคลิกเม้าส์คลิกที่วงกลมหน้าคำตอบแล้วกด Check Answers เพื่อตรวจคำตอบ

 

 paste_image38.jpg

 

 Toggle open/close quiz question

 

 Toggle open/close quiz question

 

 

 Toggle open/close quiz question

 Toggle open/close quiz question

 Toggle open/close quiz question

 

แบบฝึกหัด

(คะแนนเต็ม 20 คะแนน)

  1. นักศึกษาทำแบบฝึกหัดต่อไปนี้ให้ครบทุกข้อ ให้ได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 80% (ทำถูกต้องอย่างน้อย 3 ข้อ)
  2. เมื่อทำเสร็จแต่ละข้อให้คลิกปุ่ม Finish เพื่อยืนยันการตอบ (หากไม่ถูกต้องสามารถทำใหม่ได้)
  3. หลังจากทำเสร็จทุกข้อ ให้นักศึกษาเลื่อนไปท้ายบทเรียนหน้านี้ เลือก Print Score Summary
    เพื่อดูผลคะแนนและพิมพ์คะแนนส่งอาจารย์
  4. ทำแบบฝึกหัดที่อยู่ด้านล่างคำถามส่งอาจารย์อีกครั้งเพื่อประกอบกับทักษะที่นักศึกษาได้เรียนมาอย่างถ่องแท้

 

 Toggle open/close quiz question

พร้อมวาดภาพตัวอย่างลักษณะบรรจุภัณฑ์ จำนวน 8 แบบ พร้อมเขียนข้อมูลเบื้องต้นประกอบภาพ(ส่งโดยตรงที่อาจารย์)


 Toggle open/close quiz question

พร้อมวาดภาพตัวอย่างลักษณะบรรจุภัณฑ์ จำนวน 8 แบบ พร้อมเขียนข้อมูลเบื้องต้นประกอบภาพ(ส่งโดยตรงที่อาจารย์)


 Toggle open/close quiz question

พร้อมวาดภาพตัวอย่างลักษณะบรรจุภัณฑ์ จำนวน 8 แบบ พร้อมเขียนข้อมูลเบื้องต้นประกอบภาพ(ส่งโดยตรงที่อาจารย์)


 Toggle open/close quiz question

     พร้อมวาดภาพตัวอย่างลักษณะบรรจุภัณฑ์ จำนวน 8 แบบ พร้อมเขียนข้อมูลเบื้องต้นประกอบภาพ(ส่งโดยตรงที่อาจารย์)