หน่วยที่ 1
ความรู้พื้นฐานการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ความรู้พื้นฐานการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันทางด้านการค้าสูง  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความเข้มแข็งด้านการจัดการตลาด หรือการพัฒนารูปแบบคงจึงยังไม่เพียงพอ  การพัฒนาบรรจุภัณฑ์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสงเสริม  เพื่อการยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดเล็ก ให้มีความเข้มแข็งในการทำธุรกิจและขยายตลาด  เบื้องต้นควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความเป็นมาตลอดจนความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ เป็นแนวคิดในการเรียนรู้อดีต ศึกษาปัจจุบัน เพื่อก้าวไปในอนาคต ความเข้าใจเรื่องราวของบรรจุภัณฑ์ในบทนี้จะช่วยให้การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้เหมาะสม เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นทางเลือกของผู้ประกอบการ เล็งเห็นความ สำคัญในการเลือกพัฒนาบรรจุภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง  ได้อย่างโดดเด่นน่าสนใจ

ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์

1.  ความหมายของการออกแบบ

มีผู้เชี่ยวชาญได้ นิยามความหมายของการออกแบบ (Design) ไว้ ดังนี้

กูด (Good 1973:165) กล่าวว่า การออกแบบ เป็นการวางแผนหรือกำหนดรูปแบบรวมทั้งการตกแต่งในโครงสร้างรูปทรงของงานศิลปะ ทัศนศิลป์ดนตรี ตลอดจนวรรณกรรม

โกฟ (Gove 1956:611)  เป็นการจัดแต่งองค์ประกอบมูลฐานในการสร้างงานศิลปกรรม เครื่องจักร หรือประดิษฐ์กรรม

ศิริพงศ์ พยอมแย้ม(2537:22)  กล่าวว่า การออกแบบ หมายถึง กระบวนการทางความคิดในอันที่จะวางแผนรวบรวมองค์ประกอบทั้งหลายเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างสรรค์ หรือปรับปรุงประดิษฐกรรมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านประโยชน์ใช้สอยและด้านความงาม

วิรุณ ตั้งเจริญ (2539:20)   กล่าวว่า การออกแบบ หมายถึง การวางแผนสร้างสรรค์รูปแบบโดยการวางแผนจัดส่วนประกอบของการออกแบบให้สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย วัสดุ และการผลิต

มาโนช กงกะนันทน์ (2538:27) กล่าวว่า การออกแบบ หมายถึง กระบวนการสร้างสรรค์หนึ่งของมนุษย์ โดยมีทัศนธาตุและลักษณะธาตุเป็นองค์ประกอบ

สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ (2540:1)  กล่าวว่า การออกแบบ หมายถึง เป็นการสร้างสรรค์ที่มีผลปรากฏเป็นรูปธรรม คือ มีรูปร่างหรือรูปทรงซึ่งต้องใช้พื้นที่ในการดำรงรูปร่างหรือรูปทรงนั้นๆ

พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ (2530 : 596)  การออกแบบ คือ การทำเป็นต้นแบบทำเป็นแผนผัง              paste_image5.jpg

2.  ความหมายของบรรจุภัณฑ์

นิยามของคำว่าบรรจุภัณฑ์ (Packaging) มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ได้กล่าวไว้ ดังนี้

กองส่งเสริมอุตสาหกรรม(2517:19) กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ หมายถึง ภาชนะที่ใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์ไปยังแหล่งใช้ประโยชน์ โดยความประหยัดและปลอดภัย

นิไกโด เคล็คเจอร์(Nikaido Clecture) กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์เป็นเทคนิคที่ส่งเสริมการขายกับการประสานประโยชน์ระหว่างวัตถุกับภาชนะบรรจุ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการคุ้มครองในระหว่างการขนส่งและการเก็บรักษาในคลัง

ในพจนานุกรมใหม่ของ เว็บสเตอร์ส (Webster's new collegiate Dictionary:1956)  กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ คือ กล่องหรือหีบห่อที่ทำขึ้นเพื่อเก็บรักษาหรือเพื่อการขนส่ง

สุดาดวง เรืองรุจิระ(2529:128) กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ หมายถึง กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น ตลอดขบวนการทางการตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบ สร้างสรรค์ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์

ประชิด ทิณบุตร(2531:20)กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ หมายถึง หน่วยรูปแบบของวัตถุภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครอง หรือห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ภายในไม่ให้เกิดความเสียหาย  สะดวกในการขนส่ง  และเอื้อประโยชน์ในทางการค้าและต่อการบริโภค

บริสตันและนีลล์(Briston And Neill,1972:1) ได้ให้ความหมายของบรรจุภัณฑ์ไว้ 2 ประการกว้างๆ คือ

1) การบรรจุภัณฑ์ คือ ศิลปะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการตระเตรียมสินค้าเพื่อการขนส่งและการขาย

2) การบรรจุภัณฑ์ คือวิธีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์และมีราคาที่เหมาะสม

            ดารณี พานทอง(2524:29) กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ คือ สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุผลิตภัณฑ์รวมทั้งภาชนะที่ใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งบริโภคหรือแหล่งใช้ประโยชน์ เพื่อวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันและรักษาผลิตภัณฑ์ให้คงสภาพ  ตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกัน เมื่อแรกผลิตให้มากที่สุดนอกจากนี้อาจกล่าวได้ว่า หีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิตและหีบห่อ อาจสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการตลาด วัตถุประสงค์ทางด้านการเก็บรักษา เป็นต้น

     จรูญ โกสีย์ไกรนิรมล (2528:109)  กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์ คือการนำเอาวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ไม้ ประกอบเป็นภาชนะห่อหุ้มสินค้า เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยที่มีความแข็งแรง สวยงามได้สัดส่วนที่ถูกต้องสร้างภาพพจน์ที่ดี มีภาษาในการติดต่อสื่อสาร และทำให้เกิดความพึงพอใจ จากผู้ซื้อสินค้า

          นอกจากนี้ยังมีผู้นิยามความหมายของบรรจุภัณฑ์ในอีกหลายความหมาย ได้แก่

                    การบรรจุภัณฑ์ หมายถึง การออกแบบสร้างสรรค์ภาชนะบรรจุ  หรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์

                    การบรรจุภัณฑ์ หมายถึง  การนำวัสดุ (เช่น กระดาษ แก้ว โลหะ) มาประกอบเป็นภาชนะห่อหุ้มสินค้า  เพื่อประโยชน์ด้านความแข็งแรง  สวยงาม  สร้างความพึงพอใจจากผู้ซื้อสินค้านั้น

บรรจุภัณฑ์ หมายถึง  สิ่งห่อหุ้ม หรือบรรจุผลิตภัณฑ์ รวมถึงภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์  จากแหล่งผลิต ไปยังแหล่งผู้บริโภค  เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน รักษาผลิตภัณฑ์ไม่ให้ชำรุดเสียหาย

3. ความหมายการออกแบบบรรจุภัณฑ์

      การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (packaging  design) หมายถึง  การกำหนดรูปแบบและโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ให้สัมพันธ์กับหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ เพื่อการคุ้มครองป้องกันไม่ให้สินค้าเสียหายและเพิ่มคุณค่าด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภค โดยอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างสรรค์

 

วัตถุประสงค์ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์

1.เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถเอื้อประโยชน์ด้านหน้าที่ใช้สอยได้ดี มีความปลอดภัย ประหยัดและมีประสิทธิภาพ 

2.เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสารและสร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคโดยใช้ความรู้แขนงศิลปะเข้ามาสร้างคุณลักษณะ เช่น มีเอกลักษณ์มีลักษณะพิเศษที่ดึงดูดและสร้างการจดจำตลอดจนเข้าถึงความหมายและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์

3.เพื่อปกป้องคุ้มครองและรักษาคุณภาพสินค้า

4.เป็นตัวชี้บ่งและสื่อสารรายละเอียดสินค้า ดึงดูดผู้บริโภค แสดงถึงภาพลักษณ์ 

5.เป็นต้นทุนในการผลิตสินค้า  เมื่อบรรจุภัณฑ์ดีย่อมมีส่วนช่วยให้มูลค่าสินค้าสูงขึ้น

ประเภทของบรรจุภัณฑ์ 

การแบ่งบรรจุภัณฑ์แบ่งได้หลายวิธี เช่น แบ่งประเภทตามลักษณะกรรมวิธีการผลิตและวิธีการขนถ่ายผลิตภัณฑ์ การแบ่งและเรียกชื่อบรรจุภัณฑ์ อาจแตกต่างกันออกไป แต่มีวัตถุประสงค์หลักที่คล้ายกัน คือ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์และเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ แบ่งออกได้ ดังนี้

                            paste_image6.jpg

1. บรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วย  

       บรรจุภัณฑ์จะห่อหุ้มและสัมผัสกับผลิตภัณฑ์โดยตรง บรรจุภัณฑ์ชั้นในจะทำหน้าที่หลักในการป้องกันสินค้าจากความชื้นและอากาศ ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์เสียคุณภาพ คุณลักษณะมีรูปร่างลักษณะต่าง ๆเช่น เป็นขวด  กระป๋อง  หลอด  ถุง กล่อง  การออกแบบสามารถทำให้มีลักษณะพิเศษเฉพาะหรือทำให้มีรูปร่างที่เหมาะแก่การจับถือ  และอำนวยความสะดวกต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ภายใน  พร้อมทั้งทำหน้าที่ให้ความปกป้องแก่ผลิตภัณฑ์โดยตรง

 

 

paste_image7.jpg

 

2. บรรจุภัณฑ์ชั้นใน

                    ทำหน้าที่ในการห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ชั้นในไม่ให้ได้รับแรงกระแทกจากภายนอก บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองมีหน้าที่รวบรวมบรรจุภัณฑ์ชั้นแรกไว้ด้วยกัน  หรือเป็นชุดในการจำหน่ายรวมตั้งแต่ 2 – 24 ชิ้นขึ้นไป  โดยมีวัตถุประสงค์ขั้นแรกคือ  ป้องกันรักษาผลิตภัณฑ์จากน้ำ ความชื้น ความร้อน แสง  แรงกระทบกระเทือน  และอำนวยความสะดวกแก่การขายปลีกย่อย เพื่อความสะดวกในการป้องกันและขนส่ง และทำหน้าที่ขายด้วยจึงต้องทำการออกแบบให้สวยงามดึงดูดใจผู้บริโภค เช่น กล่องบรรจุเครื่องดื่มกระป๋องชนิด 6 กระป๋อง กล่องกาแฟชนิด 50 ซองหรือกล่องบรรจุหลอดยาสีฟัน   

                      paste_image8.jpg

 

 

3. บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกสุด

       บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหน่วยรวมขนาดใหญ่ ทำหน้าที่ในการป้องกันผลิตภัณฑ์ การขนถ่ายสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วในระหว่างการขนส่ง  ลักษณะของบรรจุภัณฑ์นี้  ได้แก่  หีบ  ไม้ลัง  กล่องกระดาษค่อนข้างขนาดใหญ่ที่บรรจุสินค้าไว้ภายใน

 

 

 

ความเป็นมาของบรรจุภัณฑ์

                 ความเป็นมาของบรรจุภัณฑ์ได้จากการสังเกตธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรอบตัว  แรงบันดาลใจของมนุษย์ที่มีต่อบรรจุภัณฑ์เริ่มแรก จากการสังเกตธรรมชาติ ได้แก่ รูปทรงของไข่ รูปทรงโค้งของเปลือกไข่ทำหน้าที่คอยปกป้องแรงกระแทกของไข่ไม่ให้ส่งผลรุนแรงต่อเนื้อไข่ภายใน ลักษณะที่รีของเปลือกไข่ทำให้ไข่กลิ้งได้ไม่สะดวก พื้นผิวของเปลือกไข่มีรูพรุนทำให้มีอากาศภายในอย่างเหมาะสม  รูปโค้งของเปลือกไข่ทำให้ความอบอุ่นจากการกกเป็นไปอย่างทั่วถึง  เนื้อไข่ขาวภายในมีความเหลวหนืดทำหน้าที่ปกป้องไข่แดง

  

สิ่งที่ปรากฏในธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ฝักถั่วลันเตาที่นับว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบ เม็ดถั่วภายในเรียงตัวเป็นแถวตัวฝักมีลักษณะเปรียบเหมือนเคลือบฟิล์ม2 ชั้น โดยมีชั้นนอกที่แข็งและชั้นในที่อ่อนนุ่ม  ภายในฝักถั่วมีการปรับสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดถั่ว

     paste_image9.jpg

ในการดำรงชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องบริโภคอาหาร ทำให้มนุษย์เรียนรู้การแก้ ปัญหาและพัฒนาสิ่งที่อำนวยความสะดวกในการบริโภค โดยการดัดแปลงสิ่งของที่อยู่รอบตัวด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การใช้ใบไม้ เปลือกไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ กระเพาะสัตว์ มาผูกมัด เพื่อ

ประกอบการรับประทานอาหาร   และพัฒนาตกแต่ง ประดิษฐ์ เปลี่ยนแปลง ให้เหมาะสมกับการใช้สอยมากขึ้นรวมถึงการอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษาและเคลื่อนย้ายอาหาร ได้แก่ การนำเอาส่วนต่างๆของพืชหรือสัตว์ มาขัดสาน เย็บ มัด ห่อหุ้ม  เป็นกระจาด ชะลอม สิ่งห่อหุ้ม  ซึ่งถือเป็นบรรจุภัณฑ์ในยุคแรกๆ 

 บรรจุภัณฑ์ยุคแรกเกี่ยวพันกับมนุษย์โครมันยอง (cromangnon) ที่รู้จักการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นพวกแรก  ซึ่งมีอายุประมาณ 10,000-20,000 ปีก่อนคริสตกาล  เมื่อมีการผลิตก็สืบเนื่องต่อถึงการแลกเปลี่ยนและค้าขายผลผลิต  อันส่งผลต่อการคิดค้นบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้สอย    

                จากหลักฐานที่ปรากฏในสมัยประวัติศาสตร์  พบว่าเรื่องราวของภาพเขียนภายในพีระมิดในสมัยอียิปต์โบราณ มีภาพเขียนแสดงเรื่องราวการใช้ใบปาล์มห่อมัดไก่สด เพื่อป้องกันการเน่าเสียปรากฏอยู่ด้วย 

                ได้มีการค้นพบหลักฐานหลายอย่างในสมัยกรีกและโรมัน  จากซากเรือที่จมในทะเลเมดิเตอเรเนียน อันเป็นเส้นทางค้าขายสินค้าในยุคนั้น พบสิ่งของต่างๆที่คาดว่าเป็นบรรจุภัณฑ์  ได้แก่ ถังไม้ ลังไม้ ภาชนะเครื่องแก้ว เป็นต้น

                การแบ่งยุคสมัยของบรรจุภัณฑ์ จากการใช้วัสดุทำบรรจุภัณฑ์ จำแนกออก ได้ดังนี้

ยุคโบราณมนุษย์ยุคแรกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้จากวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบไม้ เปลือกหอย หนังสัตว์ เปลือกผลไม้ ไม้ที่กลวง ในอดีตมนุษย์ยังไม่รู้จักการเพาะปลูก จึงต้องออกหาอาหารในป่า จึงได้คิดหาสิ่งรอบตัวมาช่วยในการขนของเพื่อให้ได้ของคราวละมาก ๆ

 paste_image10.jpgpaste_image11.jpgpaste_image12.jpg

การใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากพืชในท้องถิ่น

ประมาณ 5,000 ปี ก่อนพุทธกาล นำวัสดุจากพืชและสัตว์ มาทำ ตะกร้า ถุง กระสอบ มนุษย์เริ่มประยุกต์สิ่งรอบตัวเดิมให้สะดวกต่อการใช้งานและ มีการใช้ดินเผา เพื่อทำภาชนะบรรจุภัณฑ์ เพื่อความทนทานมากขึ้น ปรากฏหลักฐานการใช้เครื่องปั้นดินเผาในประเทศกรีซ

ประมาณ 2,000 ปี ก่อนพุทธกาล เริ่มใช้บรรจุภัณฑ์แก้ว ในอารยธรรมแถบดินแดนเมโสโปเตเมีย

ค้นพบเม็ดแก้วแต่ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ
             ประมาณ 500 ปี ก่อนคริสตกาล เริ่มผลิตแก้วด้วยการเป่าแก้ว

ประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตกาล  เริ่มมีการผลิตกระดาษ ครั้งแรก ในดินแดนอียิปต์โบราณ และ ประเทศจีนโบราณ

  ยุคเริ่มแรก  

paste_image13.jpg           ค.ศ.  1702  เริ่มมีการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษขึ้นใช้

                    ค.ศ. 1809  ใช้บรรจุภัณฑ์กระป๋อง สนองการค้นพบวิธีการถนอมอาหารด้วยความร้อน

                    ค.ศ. 1871  มีการจดลิขสิทธ์ในการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก

                    ค.ศ. 1892  นายวิลเลียม เพ้นเทอร์ ชาวสหรัฐอเมริกา คิดค้นฝาจีบใช้กับขวดแก้วสำเร็จ

                    ค.ศ. 1894  มีการใช้กล่องกระดาษลูกฟูก เป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งทางรถไฟ

                    ค.ศ. 1898  ใช้บรรจุภัณฑ์ระบบสุญญากาศ สำหรับยาสูบ ในประเทศอังกฤษ

 5.JPG

ยุคปัจจุบัน ค.ศ.1960 ผลิตถุงพลาสติกที่สามารถต้มในน้ำร้อนได้ ค.ศ. 1963 เริ่มผลิตกระป๋องอะลูมิเนียม สำหรับเครื่องดื่มและกระป๋องสเปรย์

ยุคคลาสสิค (ระหว่างช่วง ค.ศ.1960 – 1989) เริ่มมีการแบ่งบรรจุสินค้า มีการบ่งบอกยี่ห้อและสรรพคุณบนบรรจุภัณฑ์ พัฒนากระป๋องบรรจุ ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับบุหรี่ และขนมปังกรอบ  เกิดหลอดบีบ (collapsible tube) ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับยาสีฟัน  เริ่มมีการขึ้นรูปของกระดาษ โดยเริ่มแรกมีลักษณะเป็นกล่อง

 ยุคนูโว (ระหว่างช่วง ค.ศ. 1900 – 1919)ใช้ศิลปะอาร์ตนูโว ซึ่งมีลักษณะวิจิตรบรรจงนิยมใช้เส้นโค้งเลียนแบบธรรมชาติ เกิดบรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่คือ อลูมีเนียม ฟอยล์ (aluminium foil) และ เซลโลเฟรน ฟิล์ม (cellophane film) 

ยุคเดคโค (ระหว่างช่วง ค.ศ. 1920 – 1929) ฟิล์มบางใส นิยมใช้ในห่อขนมหรือหุ้มรอบซองและกล่อง  ใช้อลูมิเนียมทำหลอดยาสีฟัน ออกแบบกล่องกระดาษแข็งเคลือบไขสำหรับสินค้าที่ต้องการเก็บไว้ได้นาน ใช้ถ้วยกระดาษบรรจุไอสครีม นม 

ยุคเทคโนโลยีและนักออกแบบสร้างสรรค์ (ระหว่างช่วง ค.ศ. 1960–1989) นิยมบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติก  กล่องกระดาษเคลือบไข กระป๋องโลหะนำมา
บรรจุเครื่องดื่ม มีการใช้อลูมิเนียม

ฟอยล์ แพร่หลายยิ่งขึ้น เริ่มมีการใช้ฝาขวดที่เป็นอลูมิเนียม และฝาขวดชนิดฝาเกลียว  ขวดพลาสติก เพทบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่มน้ำอัดลม บรรจุภัณฑ์พลาสติกระบบบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ ค.ศ. 1981  เริ่มมีการนำกล่องกระดาษประกบกับฟิล์มพลาสติก เพื่อทำบรรจุภัณฑ์นมและเครื่องดื่ม

                 paste_image14.jpgยุคปัจจุบัน (ระหว่างช่วง ค.ศ.1990–1999) ให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อ  คำนึงความปลอดภัยของผู้บริโภค นิยมใช้บรรจุภัณฑ์น้ำหนักเบา แบ่งการบรรจุออกเป็นหน่วยย่อย คำนึงถึงความสะดวกสบาย ความสวยงามมากขึ้น  อีกทั้งยังคำนึงถึงต้นทุนบรรจุภัณฑ์และการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ใช้หลัก 3 R (Recycle - Reuse - Reduce) เน้นสุขภาพของผู้บริโภค รูปแบบ ดึงดูดความสนใจ ใช้กราฟิกและรูปร่างแปลกใหม่ สิ่งแวดล้อม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จุดเด่นของบรรจุภัณฑ์ปี ค.ศ. 2003 บรรจุภัณฑ์มีรูปทรง สีสันแปลกใหม่ เล่นลวดลายและกราฟิก พกพาง่าย สะดวกต่อการใช้งาน ขนาดเล็กลงมีการใช้วัสดุร่วม  บรรจุภัณฑ์สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  มีหลากหลายเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค

จากอดีตถึงปัจจุบัน พัฒนาการของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก  สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก จากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมอุตสาหกรรม และกำลังก้าวสู่สังคมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์รูปแบบและการใช้วัสดุแปลกใหม่ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ

แนวคิดเดิมในการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อความจำเป็นในการดำรงชีวิต  เปลี่ยนแปลงเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการค้า  การขนส่ง  การป้องกันตัวสินค้า  มีระบบการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการพัฒนาวัสดุและเทคโนโลยีในการผลิตบรรจุภัณฑ์  ถ้าหากจะสรุปปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนารูปแบบของการออกแบบบรรจุภัณฑ์  แบ่งออกเป็น ความก้าวหน้าของกรรมวิธีการผลิตกระดาษและ ศิลปะการพิมพ์

paste_image15.jpg

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์อย่างเป็นระบบ มีมานานกว่าสองศตวรรษแล้ว โดยเริ่มต้นจากการ ที่ผู้ผลิตสินค้าต้องการ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ถึงแม้ว่าการใช้งานของบรรจุภัณฑ์นั้น จะมีไว้เพียงเพื่อบรรจุ และเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันได้มีการพัฒนา และเพิ่มความหลากหลายมากขึ้นกว่าที่เคยมีมา ความก้าวหน้า ของเครือข่ายการคมนาคมขนส่งในโลกทุกวันนี้ รวมไปถึงความซับซ้อน ของการค้าปลีก สมัยใหม่ ทำให้การบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญมากที่สุด ในการเก็บรักษาและป้องกัน ไม่ให้ผลิตภัณฑ์เกิดความเสียหาย ระหว่างการขนส่งจากโรงงานผลิต ไปยังร้านค้าปลีกหรือผู้บริโภค

นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ ยังถูกใช้ให้เป็น สื่อโฆษณา ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์มีรอยขีดข่วน แสดงรายละเอียด การใช้ หรือแม้แต่เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์เอง

   paste_image16.jpg ต้นกำเนิดของการบรรจุภัณฑ์ จากวันนี้ย้อนกลับไปในอดีต      ช่วงปลายศตวรรษที่สิบแปดในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมการผลิต ขณะที่ก่อนหน้านั้น กระบวนการผลิตส่วนใหญ่ที่เป็นงานหนัก ต้องอาศัยแรงงานของกรรมกร และผลผลิตที่ได้ ก็มีจำนวนน้อย เครื่องจักรที่สามารถผลิตสินค้าจำนวนมาก จึงได้ถูกนำไปใช้ เพื่อเพิ่มจำนวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน ไม่เพียงแต่ผลิตสินค้า อย่างเดียวเท่านั้นยังรวมไปถึงการผลิตบรรจุภัณฑ์ด้วย

        ในช่วงแรกอาหารจะนำไปบรรจุ ในภาชนะโลหะที่ปิดผนึกและถูกหลักอนามัย คือกระป๋องบรรจุอาหารที่ทำจากดีบุกหรือกล่องกระดาษแข็ง ได้มีการนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางเพราะมีน้ำหนักเบาและสามารถพิมพ์ข้อมูลหรือภาพทับลงบนกระดาษ บนแผ่นกระดาษได้ง่ายและ

เป็นการประหยัดพื้นที่อีกด้วย กล่องโลหะก็ได้รับการพัฒนากันอย่างกว้างขวาง เช่น เดียวกันในเวลานั้น เพราะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีกว่าการใช้กล่องกระดาษแข็ง โดยเฉพาะสินค้าที่บูดเน่าได้ เช่น ขนมปังกรอบ หรือ ขนมหวาน ส่งผลให้ระดับความต้องการที่จะเก็บรักษาสินค้าเพิ่มจำนวนมากขึ้น  

        ปัจจุบันนี้เทคนิค ในการผลิตได้ก้าวไกล ทำให้บรรจุภัณฑ์โลหะเหล่านี้ มีรูปแบบหรือรูปทรงต่างๆได้ตามต้องการ ด้วยการนำเทคนิคคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิต รวมถึงพลาสติกที่ได้ รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนสามารถนำมาใช้สอยในทุกวันนี้

        เทคนิคการพิมพ์ที่เจริญก้าวหน้ามาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่19  ต้องการพัฒนาในเรื่องเทค นิคการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่มีความรวดเร็ว  ตราผลิตภัณฑ์หรือยี่ห้อที่ติดอยู่บนภาชนะบรรจุภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ ประเภท ขวดแก้ว หม้อดินเผา กล่อง กระป๋องโลหะ กล่องกระดาษแข็ง หรือกระดาษห่อ

        ธรรมดาๆ ต้องมีฉลากที่จะบอกยี่ห้อของผลิตภัณฑ์นั้น  ส่งผลในเรื่องของการเพิ่มคุณ ค่ามูลค่าและความสนใจให้กับสินค้าทั่วไป

        การพิมพ์รูปภาพและข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์  มีความสามารถสำคัญต่อการรับรู้ตราสัญลักษณ์ ยี่ห้อ และรายละเอียดของสินค้าให้เหมาะสมพอดี การพัฒนาของการพิมพ์สีทำให้ผู้ออกแบบ ได้สร้างสรรค์รูปแบบสำหรับผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจยิ่งขึ้น  

        ปัจจุบันเครื่องหมายการค้าหรือตราของผลิตภัณฑ์ ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญเท่ากับตัวของผลิตภัณฑ์ และเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค รูปแบบที่ประสบความสำเร็จที่มีอยู่มากมาย มิติใหม่ของบรรจุภัณฑ์ คือการนำหลักการทางศิลปะและการออกแบบมาพัฒนากราฟิกบรรจุภัณฑ์ให้ได้รูปแบบมาตรฐาน ให้เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน พร้อมไปกับความใหญ่โตและความสลับซับซ้อนของระบบธุรกิจอุตสาหกรรม สื่อโฆษณา การแข่งขันเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด

 บรรจุภัณฑ์โลหะ

นักออกแบบบรรจุภัณฑ์

                ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ทำหน้าที่ออกแบบสร้างสรรค์รูปทรงบรรจุภัณฑ์ ภาชนะหีบห่อสำหรับสินค้า โดยคำนึงถึงความสวยงาม วัสดุที่นำมาใช้ ตลอดจนขั้นตอนการผลิต ให้ถูกต้องตามวัสดุโครงสร้างการผลิตและประโยชน์ในการใช้สอย และสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค

                ลักษณะงานผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้จะต้องทำการศึกษาการออกแบบและวิวัฒนาการของภาชนะ หีบห่อ หรือบรรจุภัณฑ์ วิเคราะห์ศึกษาลักษณะวัสดุต่างๆที่นำมาใช้ผลิต นำเทคโนโลยีในการผลิตกับ การออกแบบมาผสมผสานกันในการออกแบบที่ต้องสอดคล้องกับกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม นอกจากการออกแบบที่สวยงามแล้ว ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
             1. สินค้าที่จะบรรจุในภาชนะ
             2. แนวโน้มทางการตลาด และคู่แข่งขันของสินค้า
             3. กลุ่มเป้าหมายผู้บริโภค ตลอดจนความสัมพันธ์ สิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมและพฤติกรรมของมนุษย์
             4. วัสดุและคุณภาพของวัสดุที่จะนำมาใช้ แหล่งวัตถุดิบ ราคาวัตถุดิบ จากนั้นนำข้อมูล มาวิเคราะห์ แล้วจึงนำไปออกแบบ ประมาณราคาต้นทุนในการผลิตและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทำแบบจำลอง และทดลองผลิตต้นแบบเพื่อให้ผู้ว่าจ้างพิจารณาแก้ไข นำผลิตภัณฑ์ต้นแบบมาแก้ไขตรวจสอบความถูกต้องตามเงื่อนไขที่ตกลงกับ ผู้ว่าจ้าง นอกจากนั้น ยังต้องตรวจสอบความปลอดภัย ความแข็งแรง และความทนทานอีกด้วย ควบคุมดูแลงานรายละเอียด ในขั้นตอนการผลิตจนชิ้นงาน ส่งถึงมือลูกค้า

                สำหรับนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับอัตราค่าจ้างเป็น เงินเดือนขั้นต้นประมาณ 7,000-9,000 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับผลงานการออกแบบ และผลงานการฝึกงาน ที่นำเสนอ อาจได้ค่าตอบแทนจูงใจเมื่อทำงานเสร็จแต่ละโครงงานโดยได้รับเป็น 2 - 3 เท่าของ เงินเดือน ส่วนโบนัส ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของสถานประกอบกิจการ และได้รับผลประโยชน์อย่างอื่นตามกฎหมายแรงงาน
             ผู้ประกอบอาชีพนี้ ในสถานประกอบกิจการดังกล่าว จะมีกรอบกำหนดในการทำงานรวมทั้งชั่วโมง การทำงาน คือวันละ 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 40 - 48 ชั่วโมง และอาจต้องทำงานล่วงเวลา ทำงานใน วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด แต่ถ้าเปลี่ยนไปประกอบอาชีพส่วนตัวโดยเปิดสำนักงานหรือใช้บ้านเป็น ที่ทำงาน รับจ้างทำงานให้สถานประกอบกิจการเดิม หรือผู้ว่าจ้างอื่นๆ เป็นโครงงาน ไป ค่าตอบแทนจะคิดเป็นงานเหมา หรืออาจได้รับเงินค่าตอบแทนมากกว่าเดิม กำหนด เวลาทำงานก็จะไม่แน่นอน

                        สภาพการทำงานบรรยากาศในการทำงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพนี้ จะเหมือนกับฝ่ายศิลปกรรมอื่นๆ ที่มีพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นสัดส่วนมีอุปกรณ์เครื่องมือในการออกแบบครบถ้วน
ถ้าประกอบธุรกิจที่บ้านจะมีลักษณะเป็นสตูดิโอ การทำงานที่มีอุปกรณ์ครบถ้วนเช่นกัน เมื่อปฏิบัติงานตามที่มีผู้ว่าจ้างแล้วเสร็จ ผู้ประกอบอาชีพนี้ อาจจะออกแบบผลงานของตนเองอันไม่จำกัดความคิด และรูปแบบ อาจเป็นทั้งบรรจุภัณฑ์อเนกประสงค์ หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อนำไปจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ด้วยตนเอง

                        คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
             1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรม, ศิลปกรรม และสาขาพาณิชย์ศิลป์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือนิเทศศิลป์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
             2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีไหวพริบและความสนใจความเคลื่อนไหวของธุรกิจและการตลาด เท่าๆ กับนักการตลาด
             3. มีความรู้ในเรื่องวัสดุและวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์
             4. มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยสูง มีความอดทน
             5. มีความสามารถในการประมาณราคาวัสดุ แบบหีบห่อ ภาชนะ และบรรจุภัณฑ์ได้
             6. มีความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีในการผลิตเข้ามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ และในการผลิต
             7. สามารถทำงานเป็นทีมได้ และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
             8. ใจกว้างสามารถรับฟังคำแนะนำ และติชมได้

                ปัจจุบัน อาชีพนี้มีการจ้างแรงงานอยู่ในระดับปานกลาง ถึงมาก ส่วนมากบริษัทผู้ว่าจ้าง นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ คือ บริษัทตัวแทนรับจ้างรับจัดโฆษณาประชาสัมพันธ์ บริษัทออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือบริษัทที่ผู้ผลิตสินค้าเป็นจำนวนหลายประเภทและยี่ห้อ
              นอกเหนือจากผู้ปฏิบัติอาชีพนี้ จะมีทางเลือกในการทำงานแบบอุตสาหกรรมแล้ว ปัจจุบันชุมชน ทั่วประเทศต่างหันมาทำการค้ากันระหว่างชุมชนทั่วประเทศโดยมีการส่งเสริมจากภาครัฐในการให้ ความช่วยเหลือให้ผลิตผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นบ้านเพื่อการพาณิชย์และการส่งออก ดังนั้นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เหล่านั้นต่างต้องการภาชนะ และหีบห่อที่ร่วมสมัย และทันสมัยเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า และดึงดูด เรียกร้องความสนใจจากผู้ซี้อหาหรือผู้บริโภค เป็นโอกาสอีกช่องทางหนึ่ง ที่ผู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์สามารถ มีทางเลือกในการประกอบอาชีพนอกเหนือจากการทำงานในสถานประกอบกิจการ และประกอบอาชีพอิสระในการผลิตสินค้าที่ระลึกและของขวัญ และส่วนมากผู้ประกอบอาชีพนี้สามารถสร้างสรรค์งานได้หลากหลายโดยไม่ยึดติดกับรูปแบบของงาน

                โอกาสก้าวหน้า ผู้ที่ปฏิบัติงานอาชีพ นี้ในสถานประกอบกิจการผลิต อาจได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปจนถึงตำแหน่งสูงสุดตามโครงสร้างขององค์กร เช่นผู้จัดการฝ่ายออกแบบบรรจุภัณฑ์
ถ้าประกอบอาชีพอิสระ อาจทำหน้าที่เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเองหรือของผู้อื่นด้วย

                อาชีพที่เกี่ยวเนื่องนักออกแบบผลิตภัณฑ์ นักอออกแบบตรา และงานศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ที่สำเร็จรูปแล้ว ศิลปินที่ทำงานด้านศิลป เปิดบริษัทโพรดัคชั่นเฮาส์ ที่รับออกแบบงานทุกประเภท ผู้ประสานงานการผลิต ผู้ส่งออกสินค้า

 องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องต้องศึกษาก่อนการออกแบบบรรจุภัณฑ์  ได้แก่  

1. การสร้างและประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์

2. การบรรจุและปิดผนึก

3. เครื่องจักรกลบรรจุภัณฑ์

4. การทดสอบบรรจุภัณฑ์

5. กระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์

6. คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์

7. เศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์

8. การตลาด

9. กฎและข้อบังคับทางกฎหมาย

10. การโฆษณาประชาสัมพันธ์

11. การออกแบบพาณิชย์ศิลป์

ความแตกต่างระหว่างคำว่า ภาชนะบรรจุ กับ บรรจุภัณฑ์

                 ยกตัวอย่างถ้าซื้อซอสพริกหนึ่งขวดเป็นบรรจุภัณฑ์  แต่เมื่อจะบริโภคโดยเทซอสพริกลงในถ้วยเล็ก ถือเป็นภาชนะบรรจุ  เมื่อใดที่ภาชนะบรรจุมีการผนึกและนำส่ง  ภาชนะบรรจุนั้นก็จะเป็นบรรจุภัณฑ์  แม้ว่าจะไม่มีการพิมพ์ยี่ห้อหรือฉลากก็ตาม

                สำหรับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ คำว่า packing (อ่านว่าแพ็คกิ้ง) และคำว่า packaging (อ่านว่าแพ็คเกตจิ้ง) โดยปกติคำว่า packing  มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าการบรรจุหีบห่อ packing สื่อความหมายถึงการบรรจุห่อเพื่อการขนส่ง  คำว่าpackaging มีความหมายกว้างกว่าตรงกับคำว่าบรรจุภัณฑ์ในภาษาไทย (ปุ่น คงเจริญเกียรติ , 2531 , หน้า 7)

paste_image18.jpg               paste_image19.jpg             paste_image20.jpg

ภาชนะบรรจุ สำหรับผลิตภัณฑ์

หน้าที่และประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์

 ทำหน้าที่ทั้งต่อตัวผลิตภัณฑ์โดยตรง และหน้าที่สื่อข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ 

1. การทำหน้าที่บรรจุใส่สินค้า เช่น ใส่ห่อสินค้า ด้วยการชังตวงวัดหรือนับ

2. การทำหน้าที่คุ้มครองป้องกันตัวผลิตภัณฑ์ ไม่ให้สินค้าเสียรูปแตกหักไหลซึม

3. ทำหน้าที่รักษาคุณภาพอาหาร เช่น ป้องกันอากาศซึมผ่าน ป้องกันแสง ป้องกันความชื้น เป็นต้น

4. ทำหน้าที่เป็นฉลากแสดงข้อมูลรายละเอียดของสินค้า เช่นเครื่องหมายการค้า ข้อมูลส่วน ผสม แหล่งผลิต เป็นต้น

5. ทำให้ตั้งราคาขายได้สูงขึ้น เนื่องจากความสวยงามของบรรจุภัณฑ์จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า

6. เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดวางขนส่งและจัดแสดง

7. สร้างความน่าสนใจและดึงดูดผู้บริโภค เป็นการส่งเสริมการขายและเพิ่มยอดขาย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาของบรรจุภัณฑ์

ในกระบวนการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ มีองค์ประกอบที่เข้ามาเกี่ยวข้องที่ส่งผลต่อราคาของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์  ทั้งต่อราคารวมและราคาต่อหน่วย ดังนี้

1.   ราคาต้นทุนของวัสดุบรรจุภัณฑ์

2.   ราคาของกรรมวิธีการผลิตบรรจุภัณฑ์

3.   ราคาของการเก็บรักษาและการขนส่ง

4.   ราคาของเครื่องมือเครื่องจักร ที่ใช้ในการผลิตและบรรจุภัณฑ์

5.   ราคาของการใช้แรงงานที่เกี่ยวข้อง

สรุป

จากนิยามของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ แสดงให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการเพิ่มมูลค่า การส่งเสริมการขาย จึงควรเรียนรู้การนำองค์ความรู้ด้านบรรจุภัณฑ์  ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตอบสนองการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นต่อไปในอนาคต

                กาลเวลาที่ผ่านมาส่งผลต่อการเลือกใช้วัสดุ  พร้อมกับการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ ได้อย่างน่าสนใจ  โดยเริ่มต้นจากช่วงแรกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ รูปแบบเรียบง่าย

ไม่ซับซ้อน  วัสดุยุคต่อมาเริ่มมีการพัฒนาเทคนิคการผลิตที่มีกระบวนการ ได้แก่ กระบวนการผลิตกระดาษ กระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น  และล่วงเลยจนถึงยุคปัจจุบันเริ่มให้ความสำคัญกับแนวคิดบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการใช้บรรจุภัณฑ์เป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูล  วัตถุประสงค์ดั้งเดิม เพื่อคุ้มครองผลิตภัณฑ์  ก็เปลี่ยนเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถสื่อสารกับผู้บริโภค ส่งผลให้เกิดปฏิสัมพันธ์ และสร้างเจตคติที่ดีระหว่างผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภคได้ชัดเจนมากขึ้น

 

ทบทวนบทเรียน

  

 

  

แบบฝึกหัด

(คะแนนเต็ม 25 คะแนน)

  1. นักศึกษาทำแบบฝึกหัดต่อไปนี้ให้ครบทุกข้อ ให้ได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 80% (ทำถูกต้องอย่างน้อย 3 ข้อ)
  2. เมื่อทำเสร็จแล้วให้ส่งอาจารย์โดยตรงเพื่อเก็บคะแนน

 

1. ให้นักศึกษาสำรวจและสังเกตบรรจุภัณฑ์ที่มีในปัจจุบัน ให้เขียนภาพแสดงให้เห็นรูปทรงและองค์ประกอบของบรรจุภัณฑ์มา จำนวน 10 ชิ้น พยายามเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีความแตกต่างกัน และทดลองนิยามความหมายของบรรจุภัณฑ์ ตามคุณลักษณ์และองค์ประกอบที่ปรากฏ

2. ให้นักศึกษาเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันเช่น ขนม ของใช้ เป็นต้น โดยที่ผลิต ภัณฑ์ชิ้นแรกไม่มีบรรจุภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ชิ้นที่สองมีบรรจุภัณฑ์  นักศึกษาคิดว่าของทั้งสองชิ้นแตก ต่างกันอย่างไร แยกแยะประเด็นไม่น้อยกว่า 5 ข้อ

3. ให้นักศึกษาวัสดุบรรจุภัณฑ์ตามประวัติศาสตร์ มีมากมายหลายชนิด และมีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกัน ให้เลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์มา 5 ชนิด พร้อมบอกลักษณะการใช้งานประกอบ

4. ยกตัวอย่างในธรรมชาติอะไรที่เป็นแรงบันดาลใจ ให้มนุษย์สร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์พร้อม ยกตัวอย่างประกอบ 3 ตัวอย่าง

5. ให้นักศึกษาวิเคราะห์ความแตกต่างของการบรรจุหีบห่อ( packing )  กับบรรจุภัณฑ์ (packaging )