*** ถ้วยแกง / ไถลข้าว / ถ้วยแบน / ช้อน ***





ถ้วยแกง เป็นถ้วยก้นลึก อาหารประเภทมีน้ำแกงจะใช้ภาชนะนี้


ไถลข้าว ได้แก่ ถาดใส่ข้าว โดยมากทำจากทองเหลือง ตีแผ่ออกไปกว้างขนาด ๔๐ นิ้ว (หรือมากน้อยกว่านั้น ตามต้องการ)
ถาดหรือไถลข้าวนี้เป็นของมีค่า ต้องซื้อหากันด้วยราคาแพง จึงนิยมใช้กันในคุ้ม ในวังเจ้านายของล้านนาไทยเป็นส่วนมาก
ประชาชนจะมีก็น้อย โดยมาก ก็คนที่มีฐานะดี พวกเศรษฐีมีเงินทอง


ถ้วยแบน หรือจาน/ชาม มีลักษณะแบน อาหารประเภททอด ปิ้ง คั่วหรือผัด มักจะตักใส่ ภาชนะนี้


ช้อน ในสมัยโบราณไม่มีใช้ ต้องแต่งกะลามะพร้าวให้ขึ้นรูปเป็นช้อน หรือทำจากข้อไม้ไผ่
ใช้สำหรับตักน้ำแกงซด หรือเขี่ยอาหารในน้ำแกงให้ขึ้นมาข้างบน เพื่อจะได้หยิบรับประทานได้ง่าย
ไม่ต้องควานหาในน้ำแกง ในยุคก่อนแต่ละบ้านจะมีช้อนจำนวนจำกัด บางครั้งในขันโตกนั้นจะมีช้อนเพียงคันเดียว
คนที่ร่วมวงต้องผลัดกันซดจึงจะได้


กลับหน้าภาชนะใส่อาหาร      กลับหน้าหลัก




จัดทำโดย : นางสาวปนัดดา อินต๊ะนนท์

รหัสประจำตัวนักศึกษา : 500210012

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

E-mail: ha_ru_jangza@hotmail.com