*** การแสดงประกอบการรับประทานอาหารแบบขันโตก ***




ตีกลองสะบัดชัย

เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่ หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านโดยทั่วไป

ลีลาในการตี มีลักษณะโลดโผน เร้าใจ มีการใช้อวัยวะ หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
เช่น ศอก เข่า ศรีษะ ประกอบในการตีด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัย
เป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน






                            ฟ้อนเทียน

มีท่วงท่าลีลาการฟ้อน การแต่งกาย และเครื่องดนตรี เหมือนกับฟ้อนเล็บทุกประการ เพียงแต่เปลี่ยนจากการสวมเล็บ

มาถือเทียนแทน เป็นการฟ้อนที่จัดร่วมนำขบวนแห่ขันโตกเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "ฟ้อนเชิญโตก"
ความงดงามของศิลปะการฟ้อนเล็บ และฟ้อนเทียนจะอยู่ที่ลีลาการบิดข้อมือ และการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ นุ่มนวล
สอดคล้องกับทำนองเพลงฟ้อนอย่างมีระเบียบและพร้อมเพรียงกัน





                                              ฟ้อนดาบ

เป็นศิลปะการแสดงลีลาท่าทางในการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมีดดาบของชาวเหนือ

โดยผู้แสดงจะย่างไปข้างหน้า ถอยหลัง หันซ้าย ขวา ในลักษณะของการระวังตัว ระวังคู่ต่อสู้
ปัจจุบันใช้แสดงความสามารถ ในการใช้ดาบติดไว้ตามร่างกายเป็นจำนวนหลายเล่ม
อีกมือหนึ่งจะถือปลอกมีดไว้ปัดป้อง มีมาแต่สมัยโบราณ ใช้กลองสะบัดชัยตีประกอบจังหวะ
ผู้แสดงสวมชุดพื้นบ้านภาคเหนือ (นุ่งกางเกงครึ่งแข้ง สวมเสื้อม่อฮ่อม มีผ้าขาวม้าคาดเอว)
การแสดงชุดนี้ใช้เวลาประมาณ ๑๐ - ๓๐ นาที




ฟ้อนเล็บ

เป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ นิยมฟ้องนำขบวนแห่ครัวทาน เรียกกันว่า "ฟ้อนเมือง" "ฟ้อนแห่ครัวทาน"

ใช้ผู้ฟ้อนเป็นชุด ตั้งแต่ ๖ คน ๘ คน ๑๒ คน (จนถึง ๑๐๐ - ๒๐๐ คน ก็ได้ เช่น ในงานต้อนรับพระราชอาคันตุกะ)
การแต่งกายจะสวมเสื้อแขนกระบอกผ่าอกติดกระดุม ห่มผ้าสไบทับเสื้อ นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง
ป้ายข้างยาวกรอมเท้า ไม่สวมรองเท้า สวมเล็บทำด้วยโลหะทองเหลือง ลักษณะปลายเรียวแหลม ยาวประมาณ ๓ นิ้ว
ผมทรงเกล้ามวยใช้ดอกเอื้องประดับมวย เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบ คือ วงกลองตึ่งนง
ซึ่งประกอบด้วยกลองตึ่งนง (กลองแอว) กลองตะโล้ดโป๊ด แนหลวง แนน้อย ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ย และสว่า(ฉาบ)







ฟ้อนสาวไหม

ท่าฟ้อนสาวไหม แต่ดั้งเดิมเป็นท่าแม่บทท่าหนึ่งในการฟ้อนเจิง ช่างฟ้อนเป็นหญิงแต่งกายพื้นบ้าน

แบบเดียวกับฟ้อนเล็บ ท่าฟ้อนมีลีลาอ่อนช้อยมาก เป็นท่าฟ้อนที่เลียนแบบกิริยาอาการสาวไหม
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบด้วย วงสะล้อ ซึงบรรเลงทำนองเพลงแบบ "ซอปั่นฝ้าย "



วงดนตรีตกเส้ง

วงตกเส้ง เป็นคำที่เรียกชื่อวงดนตรีโดยการเลียนเสียงเครื่องดนตรี “ตก” คือ เสียงของกลองตะหลดปด

“เส้ง” คือ เสียงที่เกิดจากการเรียกเลียนเสียงของสิ้งหรือฉิ่งแบบทางภาคเหนือ
บางแห่งรียกว่า วงตกสิ้ง แต่ไม่เป็นที่แพร่หลายเหมือนคำว่า “ตกเส้ง”
วงตกเส้ง เป็นวงดนตรีที่มีพัฒนาการมาจากวัฒนธรรมเดิมของท้องถิ่นในภาคเหนือ ผ่านทางสุโขทัยและหรือมอญ
ซึ่งต้นกำเนิดนั้นมาจากลังกาที่รับเอาวัฒนธรรมดนตรีจากอินเดียอีกทีหนึ่ง

วงตกคนเส้ง ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 8 ชิ้น ดังนี้

  • กลองยาว 1 ใบ (ใช้คนหาม ถ้ามีขนาดใหญ่มากใช้วางบนล้อเข็น)

  • กลองตะหลดปด 1 ใบ (แขวนกับกลองแอวหรือให้คนตีสิ้งสะพาย)

  • ฆ้องอุ้ย 1 ใบ

  • ฆ้องโหย่ง 1 ใบ

  • สว่า 1 คู่

  • สิ้ง 1 คู่

  • แนน้อย 1 เลา

  • แนหลวง 1 เลา




  • ก่อนหน้า         กลับหน้าหลัก





    จัดทำโดย : นางสาวปนัดดา อินต๊ะนนท์

    รหัสประจำตัวนักศึกษา : 500210012

    คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    E-mail: ha_ru_jangza@hotmail.com