Untitled Document
 

ในปัจจุบันพบว่ามีเด็กพิเศษที่มีพัฒนาการช้า สมาธิสั้น และออทิซึมอยู่ในสังคมเป็นจำนวนมาก และมีอัตราเพิ่มขึ้น แม้ไม่ได้แสดงอาการในช่วง 2-3 ปีก็ยังพบว่าไปแสดงอาการที่ชัดเจนในวัยเรียน 6-11 ปี การดูแลรักษา และการฟื้นฟูเด็กเหล่านี้ความสำคัญอยู่ที่ผู้ปกครอง และครูที่โรงเรียน เนื่องจากการไปเสริมสร้างพัฒนาการตามโรงพยาบาลนั้นไม่สะดวกและไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง ผู้วิจัยเล็งเห็นปัญหาในการพบแพทย์และการดูแลรักษา ฟื้นฟูในสถานพยาบาลที่ให้การบริการไม่เพียงพอ ทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่อง  ดังนั้นจึงมีแนวคิดในการจัดทำซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ขึ้นมาช่วยในการวิเคราะห์ สร้างแบบฝึกกระตุ้นพัฒนาการเด็กด้วยสื่อแอนิเมชันที่เข้าใจง่าย มีเกมส์เสริมทักษะ ฝึกพูด มีการโน้มน้าวให้เด็กเกิดความสนใจ และผู้ปกครองหรือครูนำไปใช้ได้อย่างสะดวก อีกทั้งมีการเก็บผลของพัฒนาการไว้เพื่อปรับปรุงการเสริมสร้างพัฒนาการได้เอง มีผลทำให้สามารถนำซอฟต์แวร์ไปใช้ประโยชน์ได้แพร่หลายในโรงพยาบาล สถานีอนามัย โรงเรียนเด็กเล็กต่าง  ๆ  รวมถึงแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ที่ระบบคอมพิวเตอร์สร้างออกมาให้ผู้ปกครองสามารถนำไปจัดตารางฝึกกระตุ้นพัฒนาการได้เองที่บ้าน ทำให้เด็กพิเศษเหล่านี้จะได้รับการกระตุ้นที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีพัฒนาการสมวัย ไม่เป็นภาระของสังคมในอนาคตต่อไป

 

 

    • เพื่อหาแนวทางการวิเคราะห์ผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับการที่มีพัฒนาการช้า สมาธิสั้น และออทิซึม โดยใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
    • เพื่อผลิตซอฟต์แวร์แบบฝึกกระตุ้นพัฒนาการจากระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชันเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายและสามารถกระตุ้นหรือฝึกได้เอง
    • เพื่อประเมินผลซอฟต์แวร์ในการวิเคราะห์พัฒนาการตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกลุ่มเด็กเด็กสมาธิสั้น พัฒนาการช้า และออทิซึม
    • เพื่อประเมินความสามารถของซอฟต์แวร์ในการดูแลรักษาและฟื้นฟูเด็กสมาธิสั้น พัฒนาการช้า และออทิซึม   

     

Untitled Document
 

1.  สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นผลจากการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล สถานีอนามัย โรงเรียนเด็กเล็กต่าง ๆ รวมถึงการ์ตูนแอนิเมชันแบบฝึกกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่สร้างจากระบบออกมาผู้ปกครองสามารถนำไปใช้เสริมพัฒนาการเด็กได้เองที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ
2.  สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์มีการทำงานถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์
3.  สามารถนำซอฟต์แวร์ไปใช้ได้จริงตามโรงพยาบาล โรงเรียน สถานีอนามัยได้


 
 
ลิขสิทธิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง