การเตรียมตัวกรองเซรามิกจากเถ้าแกลบ
................................................................................................
               บทคัดย่อ

    ในงานวิจัยนี้ทำการเตรียมและศึกษาการขึ้นรูปตัวกรองเซรามิก
จากเถ้าแกลบ ซึ่งมีขนาดอนุภาคเฉลี่ย 10 13 และ 20 ไมโครเมตร
ด้วยวิธีหล่อแบบ แล้วเผาผนึกตัวกรองที่อุณหภูมิ 1250 องศาเซลเซียส
เป็นเวลา 4 ชั่วโมงด้วยเตาเผาไฟฟ้า จากผลการศึกษาพบว่า
อัตราส่วนของเถ้าแกลบต่อพีวีเอที่เหมาะสมคือ 14:1 (น้ำหนัก/น้ำหนัก)
โดยเถ้าแกลบที่ใช้มีขนาดอนุภาคเฉลี่ย 20 ไมโครเมตร และ
สมบัติตัวกรองเซรามิกหลังเผามีค่าความหนาแน่น 1.0
กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร, ค่าความพรุนตัวปรากฎ 53.8  เปอร์เซ็นต์,
ค่าความแข็งแรงต่อการกดอัด 89.97  กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร,
ช่วงขนาดรูพรุน 0.3-6.3 ไมโครเมตร และ มีอัตราการกรอง 90 มิลิลิตร/ชม.-ตร.ซม.

คำสำคัญ: เถ้าแกลบ ตัวกรองเซรามิก ค่าความแข็งแรงต่อการกดอัด การเผาผนึก

................................................................................................
บทเรียนออนไลน์ ของอาจารย์นิตยา วงษ์ภา
การเตรียมตัวกรองจากเถ้าแกลบเพื่อใช้ในการกรองน้ำ
................................................................................................
บทคัดย่อ

       ทำการเตรียมและศึกษาการขึ้นรูปตัวกรองเซรามิกจากเถ้าแกลบ ซึ่งมีขนาดอนุภาคเฉลี่ย
10.48 ไมโครเมตร 13.03 ไมโครเมตร และ 20.27 ไมโครเมตร ด้วยวิธีหล่อแบบ แล้วเผาผนึก
ตัวกรองที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส 1250 องศาเซลเซียส และ 1300 องศาเซลเซียส
เป็นเวลา 4 ชั่วโมงด้วยเตาเผาไฟฟ้า จากผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนของเถ้าแกลบต่อพีวีเอท
ี่เหมาะสมในการขึ้นรูปตัว กรองคือ 14:1 (น้ำหนัก/น้ำหนัก) โดยใช้เถ้าแกลบที่มีขนาดอนุภาค
เฉลี่ย 13.03 ไมโครเมตร สมบัติตัวของกรองที่ดีที่สุด มีค่าการหดตัวเชิงเส้นร้อยละ 4.5
ค่าการหดตัวเชิงปริมาตรร้อยละ 10.3  ค่าความหนาแน่นปรากฏ
2.03  กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร ค่าความพรุนตัวปรากฏร้อยละ 45.83
ค่าความทนแรงอัด 121.98  กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร โวลุมแฟรกชันร้อยละ 15.75
ขนาดรูพรุนเฉลี่ย 1.02  ไมโครเมตร โดยตัวกรองดังกล่าวจะถูกนำมาวิเคราะห์
องค์ประกอบทางแร่ด้วยเครื่องเอกซ์เรย์ ดิฟแฟรกชัน และวิเคราะห์เชิงปริมาณขององค์ประกอบ
เคมีด้วยเครื่องเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนต์ พบว่าแบบอย่างการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ของตัวกรอง
แสดงการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ที่เป็นของซิลิกา (แฟ้มข้อมูล JCPDS หมายเลข 11-0695
และแฟ้มข้อมูล JCPDS หมายเลข 16-0152) สำหรับผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณของ
องค์ประกอบเคมีพบว่ามีปริมาณซิลิกาเป็น องค์ประกอบมาก นอกจากนี้ในการทดลองยังมี
การวัดอัตราการกรองของตัวกรองซึ่งมีค่าเท่ากับ 85  มิลลิลิตร/ชั่วโมง-ตารางเซนติเมตร
ค่าความขุ่นเฉลี่ย 2.10  เอ็นทียู และมีค่าประสิทธิภาพการดักจับอนุภาคร้อยละ 89.72
................................................................................................

โปรแกรมเทคโนโลยีเซรามิกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 119 ถนนลำปาง-แม่ทะ ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100