น้ำใจสำคัญกว่ากฎหมาย เพราะกฎหมายไม่สามารถให้ความยุติธรรมแก่ใครได้ดีเท่ากับความมีน้ำใจ

TO TEST EXERCISE

>ภาษาไทยธุรกิจ

การชักชวน (PERSUASION)


๑.ต้องรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของคนที่จะมาชักชวน คนที่จะมาชักชวนเราให้เห็นคล้อยตามเขา
และร่วมมือ หรือตกเป็นเหยื่อการถูกหลอกลวงให้เชื่อตามเขา ซึ่งเขาอาจใช้เล่ห์เหลี่ยมวิธีการใด
วิธีหนึ่ง ดังนี้ ๑.๑ การสาดโคลน(Mud slinging) คือพูดใส่ร้ายป้ายสีฝ่ายตรงข้าม ๑.๒ อ้างอิงบุคคลหรือสถาบัน หรือสิ่งที่เชื่อถือไม่ได้ เช่น ยกคำคาดคะเนจากหนังสือพิมพ์มาหัก ล้างข้อโต้แย้ง ๑.๓ ใช้การเปรียบเทียบที่ไม่เหมาะสมมาสนับสนุนคำพูดของตน เช่นการรับร่างรัฐธรรมมนูญ ฉบับ สสร.เหมือนกับการแต่งงานกับหญิงงามแต่เป็นโรคเอดส์ ๑.๔ ใช้การอ้างเหตุผลผิดๆมาสนับสนุนให้เชื่อ เช่น ไก่ตายเพราะฝนตก / ฝนตกเพราะกบมันร้อง ๑.๕ ใช้การสรุปหลักการโดยมีข้อมูลไม่เพียงพอ เช่น ไม่มีความยากจนในหมู่คนขยัน / การตัดขาคู่หน้าของตั๊กแตนแล้วสั่งให้มันกระโดด มันกระโดดได้ไกล ๒ ฟุต พอตัดขาคู่ หลังออกอีก แล้วสั่งให้มันกระโดดมันไม่กระโดด จึงสรุปว่าเหตุที่ตั๊กแตนไม่กระโดด เพราะหูมันหนวก ๑.๖ บิดเบียนทัศนะของฝ่ายตรงข้าม เช่น การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทำให้เกิดการแบ่ง แยกรัฐ / มีคนนำพาคนไปเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมแล้วถูกทำร้าย ก็พูดโจมตีว่าเขาพา คนไปตาย ๑.๗ ใช้การพูดเล่นสำนวน(Quibbling) หรืออ้างความหมายให้ต่างไปจากที่เคยเข้าใจกัน เช่น ป้ายจราจรเขียน ติดไว้ว่าห้ามจอด ๒๔ ชั่วโมง ตำรวจจราจรเห็นแท็กซี่คันหนึ่งจอดอยู่ จึงเข้าไปถามว่าป้ายเขา ห้ามจอด๒๔ ชั่วโมง คุณมาจอดได้ไง มาเสียค่าปรับเสียดีๆ แต่คนขับแท็กซี่โต้แย้งหน้าตาเฉยว่า"จอดได้ซิ เพราะผมจอดแค่ ๒ ชั่วโมง" ๑.๘ ใช้วิธีนำเรื่องเล็ก หรือเรื่องไม่เกี่ยวกับประเด็น มาอภิปรายโต้เถียง เช่น ครูอบรมเด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่งว่า ”เธอเป็นผู้หญิงไม่ควรพูดจาไม่มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่” นักเรียนหญิงโต้เถียงว่า “ทีอาจารย์ยังเข้าสอน ช้าเลย” ๑.๙ใช้วิธีอนุมาน(คาดคะเน)อย่างผิดๆ เช่น “ผู้รักสงบ คือผู้ไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามดังนั้นผู้ที่คัดค้าน การทำสงครามทุกคนถือว่าเป็นผู้รักสงบ” ๑.๑๐ ข่มขู่ให้ฝ่ายตรงข้ามยอมรับข้อสรุปของตนเพราะเหตุผลฟังขึ้นแต่ไม่มีหลักฐาน เช่น พรรคการเมือง พรรคหนึ่งบอกว่าประชาชนภาคใต้ไม่ยอมเลือกพรรครัฐบาล แต่เลือกพรรคฝ่ายค้านทั้งหมด สรุปว่า รัฐควรยอมรับนโยบายการแก้ปัญหาภาคใต้ของฝ่ายค้าน ๑.๑๑ การใช้คำมาอ้าง เช่น เผด็จการ , นายทุน,เผด็จการรัฐสภา,ประชาธิปไตย,ยุติธรรม เพื่อปลุกให้เกิดความ รู้สึกเห็นด้วย ๑.๑๒ แสร้งทำเป็นไม่เข้าใจสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามพูด หรือทำเป็นว่าฝ่ายตรงข้ามพูดอธิบายไม่เข้าใจ เช่น ตำรวจจราจร ขอตรวจใบขับขี่ชาวเขาที่ขี่มอเตอร์ไซด์เข้ามาในเมืองชาวเขาตอบว่า“ใบขับขี่ แล้วต้นขับขี่มันมีรูปร่างยังไงครับ” ๑.๑๓ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามโกรธ โดยยั่วยุเพื่อให้ขาดความยั้งคิด ๑.๑๔ ทำเป็นว่า เป็นคนมีเหตุผล ส่วนคนอื่นขาดเหตุผล เช่น สหรัฐพูดตำหนิไทยไม่เคารพสิทธิมนุษยชนกรณี ปราบปรามเหตุการณ์ในสามจังหวัดภาคใต้ ทั้งที่สหรัฐเองเข้าไปรุกรานฆ่าคนอิรัคตายไม่รู้เท่าไร อ้างเหตุผลเพื่อให้อิรัคมีประชาธิปไตย ๑.๑๕ ใช้คำศัพท์วิชาเฉพาะที่ยากๆ ซึ่งไม่มีความหมายพิเศษใดๆ เพียงเพื่อทำให้ผู้ฟังสับสนหรือประทับใจ เช่น paradigm (pattern) มโนภาพ(concept) ๑.๑๖ ใช้การตั้งข้อสังเกต เช่น “ผมแน่ใจว่าคุณไม่ได้หมายความตามที่พูด” เพื่อทำให้ฝ่ายตรงข้ามขาด ความมั่นใจ ๑.๑๗ การชักนำความสนใจจากประเด็นที่เป็นข้อโต้เถียง ไปยังประเด็นที่ไม่ใช่ข้อโต้เถียง เช่น ผู้การจัดรายการ โทรทัศน์รายการหนึ่งชื่อพรหมลิขิต โดยให้สาวสามคน สมัครมาให้หนุ่มเลือกเพื่อคบหาเป็นคู่ครอง รายการนี้ถูกโจมตีว่าเป็นการมอมเมาวัยรุ่นให้มีค่านิยมในการหาคู่ครองในทางที่ผิด ทางฝ่ายจัดรายการ โต้ว่า “ทีละครโทรทัศน์มีบทกอดจูบกันก็ควรห้ามผลิตด้วย” ๒.ใช้การสร้างเรื่องให้สมเหตุสมผล โดยทำสิ่งต่อไปนี้ ๒.๑ กำหนดจุดมุ่งหมายการโต้แย้ง ๒.๒ ประเมินผู้ฟัง เพื่อศึกษาว่าจะโน้มน้าวยากแค่ไหน ๒.3 มีหลักฐานอ้างอิง เช่น -อ้างอิงทางสถิติที่เชื่อถือได้ -คัดลอกข้อความจากตำรามาอ้างอิง -ใช้ตัวอย่างประกอบ -ใช้การอุปมา -ใช้คำศัพท์ และใช้คำจำกัดความของผู้ชำนาญการ ๓.ใช้การสื่อสารแบบอวัจนภาษา (Non Verbal Communication)ได้แก่ -การแต่งกาย -ใช้สีหน้า -น้ำเสียง -ท่าทาง
การเจรจาประนีประนอม(Negotiation)
ก่อนการเจรจา ๑.ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในการเจรจาประนีประนอม ๒.เตรียมเรื่องที่จะเจรจา มีข้อมูล ๓.กำหนดลำดับของผลการเจรจาว่าเรื่องใด ต้องเจรจาได้แน่ๆ อะไรที่อยากจะได้ ๔.เพื่อประหยัดเวลา ควรแจ้งข้อเรียกร้องและเหตุผลสนับสนุน ให้ฝ่ายตรงข้ามได้ทราบล่วงหน้า ๕.ควรมีการซ้อมอภิปรายประเด็นที่ฝ่ายตรงข้ามจะได้เถียงกลับมา ก่อนไปเจรจาจริง ๖.กำหนดตัวผู้นำการเจรจา คณะเจรจายิ่งเล็กยิ่งดี ระหว่างเจรจา ๑.เมื่อเปิดการเจรจา ควรแถลงจุดมุ่งหมายของเราเป็นลำดับแรก ซึ่งอาจมีผลในการ ประนีประนอมเรื่องเล็กน้อยได้ ๒.ขณะเจรจา ถ้าสมาชิกของเราขัดแย้งกันเอง ต้องขอเลื่อนเจรจา ๓.ควรเตรียมข้อมูล หลักฐานไว้โต้ฝ่ายตรงข้ามให้พร้อม ๔.ไม่โจมตีเรื่องบุคคลและกลุ่มแต่พูดเรื่องงาน มิฉะนั้นต้องถอนตัวเลิกการเจรจา ๕.ต้องใช้ความอดทน ไม่ควรเร่งฝ่ายหนึ่งให้ตกลงทันที ๖.ถ้าให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกเสียหน้า หรือเจรจาแบบไม่ประนีประนอมลงบ้าง ก็ยากที่จะตกลงกันได้ ๗.บรรยากาศการเจรจาที่ดี นำมาซึ่งการเคารพซึ่งกันและกัน ๘.แก่นสารของการตกลงใดๆต้องมีการทำสรุปเป็นประเด็นก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะแยกจากกันดังนี้ ๘.๑ต้องมีการบันทึกข้อตกลงและเงื่อนไขต่างๆ ในการเจรจาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ๘.๒ ไม่ควรบอกเรื่องที่เจรจาสำเร็จในครั้งนี้ให้บุคคลที่สาม ซึ่งเราจะต้องเจรจากับเขาใน โอกาสต่อๆไป ๘.๓ ผลการเจรจา ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ระยะยาว แต่ถ้าจำเป็นอาจต้องเปลี่ยนแปลง จุดประสงค์
Go to Top page / Go to middle page
**************