ครู   ควรให้นักเรียน มีความคิดที่สำคัญที่สุด คือ อยากรู้ อยากเรียน เรื่องที่ครูสอน ด้วยตัวของเขาเอง สืบต่อจาก ที่ครูสอนไปแล้ว...
  
        พฤติกรรมการสอนภาษาไทย
 Go to menu      

เมื่อเป็นครูยืนสอนอยู่ต่อหน้านักเรียน  
ขอให้ถามตนเองในเรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ 
ว่าได้กระทำหรือยัง  ถ้ายังไม่ได้กระทำ ขอให้รีบกระทำโดยเร็ว  
เพื่อการเรียนการสอนจะบรรลุเป้าหมาย
1.ท่านสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นสวรรค์ อย่าให้เป็นนรกของนักเรียน หรือยัง ?
2.ให้นักเรียนได้พัฒนาความคิดอะไรบ้างหรือยัง ?
3.นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้ค้นพบความรู้ด้วยตนเองภายใต้คำปรึกษาจากครูหรือยัง ?
4.ให้นักเรียนทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม ฝึกให้ทุกคนได้มีโอกาสเป็นหัวหน้ากลุ่มหรือเปล่า ?
5.ใช้อุปกรณ์ประกอบการสอนอย่างเหมาะสมหรือเปล่า ?
6.คิดอยู่เสมอว่า เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันเป็นธรรมชาติ ในเรื่องสติปัญญา และพฤติกรรม ทุกคนอยากเป็นคนดี ครูต้องค้นหาสาเหตุที่นักเรียนเป็นคนไม่ดี แก้ที่สาเหตุนั้น
7.นักเรียนไม่สนใจเรียนเพราะครูไม่เก่งจริงที่จะทำให้นักเรียนสนใจหรือเปล่า ?
8.สอดแทรกวิชาศีลธรรมทุกครั้งที่สอนหรือยัง ?
9.สอนซ่อมเด็กอ่อนให้ให้พัฒนาขึ้นกว่าสัปดาห์ที่แล้วอย่างเป็นรูปธรรมที่อธิบายได้
10.ชมนักเรียนหรือยัง ? ให้โอกาสที่เด็กอ่อนจะได้รับคำชมบ้าง โดยการมองหาส่วนดีของเขา เพราะทุกคนไม่มีใครชั่ว 100% กล่าวโดยสรุป จากเรียนรู้ สู่เรียนทำ เรียนจำไป สู่เรียนจัดการ เรียนรับไป สู่เรียนให้ เรียนใช้ไป สู่เรียนผลิต สอนเด็กให้เขา ดี เก่ง สุข เป็นคนดี เก่งทางดี มีความสุขดี

 หลักการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
ด้วย
CIPPA Model
สรุปจากบทความของ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมณี

C (Construction) คือครูจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง
I (Interaction) คือให้นักเรียนทำกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม กับบุคคลและแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
P (Physical Participation) คือจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย
P (Process Learning) คือจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่นกระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการทำงานให้สำเร็จ
A (Application) คือการจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน



ขั้นตอนการสอนตาม CIPPA model
1.ขั้นการทบทวนความรู้เดิม
2.ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่
หมายถึงให้นักเรียนได้รู้จักแหล่งที่จะค้นหาความรู้
3.ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
4.ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
5.ขั้นการสรุปและการจัดระเบียบความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนได้ง่าย
6.ขั้นการแสดงผลงาน
7.ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ให้สอดคล้องกับ ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียน ( 4 MAT)
 
  8  ซีกขวา
นำเสนอและแลกเปลี่ยน
 
  1  ซีกซ้าย
การสร้างประสบการณ์
  7  ซีกซ้าย
วิเคราะห์ชิ้นงาน

กิจกรรม
  2  ซีกขวา
  วิเคราะห์ประสบการณ์
  6  ซีกขวา
วางแผนและสร้างผลงาน
3 ขวา
ปรับประสบการณ์เดิม
           เข้าสู่ความคิดรวบยอด
         
  5  ซ้าย
ทบทวน
           ฝึกปฏิบัติ
         


4  ซ้าย
ทฤษฏี
           ความคิดรวบยอด
 
Go  to  top page  /  middle page

*************